บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


วัดจันทร์เจริญสุข
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดเก่าวัดหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่สมัยใด “วัดจันทร์เจริญสุขเจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยก่อน มีพระสงฆ์ จำพรรษาประมาณ 100 รูป เป็นแหล่งศึกษาอักขระสมัย มีกุฏิหลายหลัง แบ่งเป็นหลายคณะการปกครอง ภายหลังชำรุดผุพังไปตามสภาพกาลเวลาพระอธิการเขียน พระอธิการสวาท พระแจ้ง พระใจ พระครูเหว่า พระอธิการผึ่งพระครูแหร่ม พระรอด พระครูสมุทรมงคล (สาย สุมงฺคโล) พระครูสมุทรนวการ (สวัสดิ์ อภิสมาจาโร) ย้ายมาจากวัดขันแตก เมื่อปี พ.ศ.2518 และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูรัตนปัญญาโสภณ (โชคชัย ธฺมมทฺธโช) ด้านการศึกษา พระครูสมุทรมงคล (หลวงปู่สาย) ได้ริเริ่มเปิด “โรงเรียนประชาบาลขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2483 โดยอาศัยศาลาต่างๆ ภายในวัดเป็นที่เรียน ต่อมาสร้างเป็นอาคารถาวร 1 หลัง ปัจจุบันย้ายอาคารเรียนมาปลูกในที่ใหม่มีอาคาร 2 หลัง มีโรงฝึกงาน โรงอาหาร มีสนามกว้างขวาง มีนักเรียนมาก ปัจจุบันมีครู 13 คน
 ประวัติความเป็นมาของ พระครูสมุทรมงคล (หลวงปู่สาย สุมงฺคโล เอี่ยมสะอาด)
หลวงปู่สาย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2452 ที่บ้านฝั่งตรงข้ามวัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของพ่อสังข์ แม่คุ้ม เอี่ยมสะอาด เมื่อเยาว์บิดามารดา ส่งไปศึกษาอยู่กับพระที่ วัดธรรมนิมิตเรียนต่อที่ วัดนางวังใกล้บ้านจนจบการศึกษาในสมัยนั้น แล้วกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ พออายุได้ 20 ปี ในปี พ.ศ.2472 บิดามารดาและญาติจัดให้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางกะพ้อมอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี ท่านเจ้าอธิการคง ธมฺมโชโตวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอธิการแช่ม โสฬะสะวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกิดวัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดบางกะพ้อม จนสามารถสอบนักธรรม ตรี โท เอก ได้ตามลำดับ จนได้เป็นครูสอนนักธรรมอยู่ที่วัดบางกะพ้อม และสอนนักเรียนประถมที่วัดนางวังเป็นครั้งคราว ได้ทำหน้าที่เป็นเลขา  ช่วยเหลือหลวงพ่อคงเพราะสมัยนั้น หลวงพ่อคงท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครองวัดต่างๆ ตลอดทั้งช่วยหลวงพ่อ ปกครองดูแลพระสงฆ์ภายในวัด
 นอกจากนั้นหลวงพ่อสาย ยังใช้เวลาว่าง ศึกษาเล่าเรียนหนังสือขอม เรียนมูลกัจจายน์ ฝึกหัดปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนศึกษาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคงเป็นเวลานานหลายปี และในการสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อคงหลวงพ่อสายมีส่วนร่วมในการสร้างด้วย
วัดจันทร์เจริญสุข ได้ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงพร้อมกันไปหา หลวงพ่อคงมาขอ หลวงพ่อสายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดจันทร์เจริญสุข เมื่อหลวงพ่อคงอนุญาตแล้ว ชาวบ้านย่านวัดจันทร์เจริญสุข จึงแห่หลวงพ่อสายมาเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของ ท่านพระครูธรรมวิถีสถิติ์เจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2496 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และเลื่อนจากพระใบฎีกา เป็นพระครูใบฎีกา ฐานานุกรม ในตำแหน่งของท่านเจ้าคุณพระเทพเมธี วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็น พระครูสมุทรมงคล พ.ศ.2518 จัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต อุโบสถวัดจันทร์เจริญสุข ในช่วงก่อนงานปิดทองฝังลูกนิมิต คือ พ.ศ.2517 ได้ป่วยหลายโรคและไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลบ้าง กลับมารักษาเองที่วัดบ้าง ภายหลังจากการจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังที่ได้ตรากตรำก่อสร้างมาเป็นเวลาหลายปี เป็นผลสำเร็จแล้ว ไม่นานนักท่านก็ล้มป่วยลงอีก อาการทรุดลงเรื่อยๆจนในที่สุด หลวงพ่อสาย ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2518 สิริอายุรวมได้ 67 ปี พรรษา 45


วัดสระแก้วปทุมทอง
วัดสระแก้วปทุมทอง เป็นวัดเก่าแก่ตัววัดอยู่กลางสระน้ำโบราณชื่อสระแก้ว ซึ่งมีหลักฐานจากเอกสาร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เอกสารเหล่านี้ โดยสรุปสภาพของวัดสระแก้วคือ "เดิมมีสภาพเป็นสระใหญ่ มีคลองขุดผ่านมาหลายสาย มีบัวหลวงปลูกเต็มไปหมด จนไม่สามารถมองเห็นน้ำได้ กลางสระมีเกาะสองเกาะ เกาะหนึ่งมีวิหารอยู่หลังหนึ่ง อีกเกาะหนึ่งมีวัด ทั้งสองเกาะมีสะพานทอดเข้าหากัน"

ในปี พ.ศ. 2472 พระอาจารย์โส โสภโณ นายลก สร้อยเพชร และนายไสว สร้อยเพชร ร่วมกันสร้างและบูรณะวัดสระแก้ว ซึ่งมีเรื่องที่ชาวบ้านเล่าประกอบว่า มีหลวงพ่อโส เดินทางธุดงค์มาจาก จังหวัดเลย แวะปักกรดบริเวณสระแก้วและนิมิตว่าบริเวณนี้เป็นวัดเก่า จึงได้เดินสำรวจ และพบเนินดินซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถเก่า เมื่อแจ้งแก่เจ้าของที่ เจ้าของที่จึงบริจาคที่ให้สร้างเป็นวัดชื่อว่าวัดสระแก้วปทุมทอง เมื่อปี พ.ศ. 2486

การตั้งชื่อวัด
ต่อมา หลวงพ่อโส โสภโณ จึงปรึกษานายไสว สร้อยเพชร ว่าที่หน้าวัดเป็นสระใหญ่มีดอกบัวขึ้นเต็มไปหมด ได้มีชาวบ้านเล่ากันว่าได้เห็นดวงแก้ว (พระบรมสารีริกธาตุ) ผุดขึ้นจากกลางสระอันเป็นบุพนิมิต มีแสงสว่างไสวไปทั่วทั้งสระ จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดสระแก้วปทุมทอง สระแก้ว เป็นชื่อสระน้ำโบราณ ปทุมทอง เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ตามบุพนิมิตนั้น

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกขานนามวัดนี้ว่า วัดสระแก้วปทุมทอง โดยมีหลวงพ่อโส โสภโณ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาไม่นาน หลวงพ่อโสได้ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2489 ด้วยเหตุแห่งการชราภาพมาก จึงแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส คือ พระใบฎีกาประดิษฐ์ และพระสมุห์เพี้ยน ตามลำดับ

แต่ต่อมาไม่นานก็ว่างเจ้าอาวาสลงมาจนถึงเมื่อ ปี พ.ศ. 2491 พระครูศีลสารสัมบัน (พระสมุห์สำรวย สมฺปนฺโน) จึงได้ย้ายจากวัดพระศรีรัตน มหาธาตุ (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2

 ลำดับเจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง

ลำดับเจ้าอาวาสและรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง
รายชื่อ ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. หลวงพ่อโส โสภโณ (ไม่ทราบนามสกุล) อดีตเจ้าอาวาส พ.ศ. 2489 - 2490
2. พระใบฎีกาประดิษฐ์ (ไม่ทราบฉายาและนามสกุล) อดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. 2490
3. พระสมุห์เพี้ยน (ไม่ทราบฉายาและนามสกุล) อดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. 2490
4. พระครูศีลสารสัมบัน (พระสมุห์สำรวย สมฺปนฺโน (หุ่นวัน)) อดีตเจ้าอาวาส และอดีตเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2491 - 2536
5. พระครูรัตนปทุมรักษ์ (สมศักดิ์ รกฺขิโต (บุปผาชาติ)) เจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน

 วัตถุมงคลของวัดสระแก้วปทุมทอง


สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พ.ศ. 2515


พระผงพิมพ์รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน รุ่นจอมพล พ.ศ. 2515


เหรียญพระครูศีลสารสัมบัน พ.ศ. 2517 เนื้อทองแดง

ในอดีตขณะที่ท่านพระครูศีลสารสัมบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และยังมีชีวิตอยู่นั้น พระคุณท่านได้สร้างพระเครื่องอันเป็นอนุสรณ์สักการะบูชาไว้หลายอย่าง เช่น

1.พระผงพิมพ์แก้วมณีโชติ (พระพุทธมหาศิลามงคล) เนื้อดินและผง สร้างประมาณ พ.ศ. 2500 – 2509 พุทธาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นต้นตำรับพระเครื่องปี 2515 ผงถูกนำไปใช้เป็นฉนวนพระเครื่องรุ่นหลังอีกมากมาย พุทธาภิเษกรุ่นเดียวกันกับพระเครื่องจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก รุ่น 2515
2.พระพิมพ์พุทธมหาศิลามงคล เนื้อดิน กรุช่อฟ้าอุโบสถ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2472
3.พระพิมพ์พุทธชินราชใบเสมา เนื้อดิน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 ด้านหลังมีวัด พิมพ์เดียวกับรุ่นจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก พ.ศ.2515 ต่างกันแค่ด้านหลังที่เป็นรูปธรรมจักร
4.พระพิมพ์พุทธชินราชหลังใบโพธิ์ เนื้อผงและดิน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 (ปัจจุบันหายากมาก)**
5.พระพิมพ์พุทธชินราชกลีบบัว เนื้อดิน กรุช่อฟ้าอุโบสถ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2472 (สร้างเพียง 108 องค์)(ปัจจุบันหายากมาก)**
6.พระพิมพ์พุทธชินราชเกล็ดปลา เนื้อผง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 (ปัจจุบันหายากมาก)**
7.พระพิมพ์พุทธชินราชใบมะขาม เนื้อดิน กรุช่อฟ้าอุโบสถ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2472
8.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) ทรงสี่เหลี่ยมใหญ่ เนื้อผงรุ่นรบรองกล้าชนะ(พิมพ์ใหญ่) ผสมเกศาพระครูศีลสารสัมปัน เป็นรุ่นดังที่สุดเรียกกันว่า รุ่นจอมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 แจกทหารที่ไปรบรองกล้า เป็นรุ่นที่ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์เดลิดิวส์ ครั้งยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ภูหินรองกล้า บางคนเรียกว่า รุ่นปาฏิหาริย์ (ปัจจุบันยังมีให้บูชาที่วัดฯ)**
9.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบันทรงไข่ไก่ เนื้อผงโบราณ (เก่า) รุ่น 2500 กึ่งพุทธกาล เป็นรุ่นที่หายากที่สุด มี 2 เนื้อ คือ ปิดทองและไม่ปิดทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 พิมพ์นิยม มวลสารดีพิธีใหญ่ประกอบด้วยมวลสารคือ ผงว่าน 108 ชนิด ผงกรุสมเด็จวัดระฆังฯ ผงอิทธิเจ เกศาพระครูศีลสารสัมปัน และผงตะไบพระกริ่ง(วัดสุทัศน์ฯ)เป็นต้น
10.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) ทรงสี่เหลี่ยมพิมพ์เล็ก เนื้อผง รุ่นหน้าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515
11.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) ทรงกลม เนื้อผง รุ่นล้อแม็ครถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515
12.เหรียญพระครูศีลสารสัมปัน (สำรวย สัมปันโน) วงรี พ.ศ. 2515 (ปัจจุบันหายากมาก)**
13.เหรียญพระครูศีลสารสัมปัน (สำรวย สัมปันโน) ใบเสมา (เนื้อกะไหล่ทอง รมดำและทองแดง) พ.ศ. 2517 (ปัจจุบันหายากมาก)**
14.รูปหล่อพระครูศีลสารสัมปัน เนื้อทองผสม ใต้ฐานบรรจุผงพระที่เหลือจากการสร้าง มีเขียนยันต์ หน้าตัก 5 นิ้ว พ.ศ. 2515

หมายเหตุ รุ่นที่สร้าง พ.ศ. 2515 "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลก" ได้ร่วมพุทธาภิเษกในพิธีมหาจักรพรรดิ์ 2515 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ลำดับทำเนียบพระพุทธาภิเษก ลำดับ 9 - 10 (หมายเลข 9 - 10 สร้างโดยพระครูศีลสารสัมปัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก)[6][7] มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ดังนี้ 1. หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี 2. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 3. หลวงพ่อนาค วัดทัศนารุณสุนธิการาม กทม. 4. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี 5. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง 6. หลวงพ่อศุข วัดโพธิทรายทอง จ.บุรีรัมย์ 7. หลวงพ่อสด วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท 8. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี 9. หลวงพ่อบุญ วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี 10. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่นองพะอง จ.สมุทรสาคร 11. หลวงพ่อกรับ วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร 12. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี 13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี 14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเสา จ.ลพบุรี 15. พระครูสนิทวิยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี 16. หลวงพ่อคำ วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี 17. หลวงพ่อฝัน วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี 18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี 19. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี 20. หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง เป็นต้น

สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นน้ำที่ออกจากเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย จ.สุโขทัย



วัดเกษมสรณาราม
ตั้งอยู่เลขที่ 40 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา
 
อาณาเขตทั้งสี่ทิศจดที่ดินเอกชน ประกอบด้วย อุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.2440 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2523 หอสวดมนต์
 
สร้างเมื่อปี พ.ศ.2528 กุฏิสงฆ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2529 ศาลาเอนกประสงค์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2513 ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระประธานประจำอุโบสถ์
 
พร้อมพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรวัดเกษมสรณาราม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2350 เดิมชื่อ วัดใหม่ตาเพชรผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด คือ นายเพชร
 
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเกษมสรณารามตามบัญชาของ สมเด็จพระสังฆราช” (จวน อุฎฐายี)  ในปี พ.ศ.2476
 
เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2420
 ประวัติความเป็นมาของพระหลวงปู่อ้น
หลวงปู่อ้นมีนามเดิมว่า ม.ร.ว.อ้น อิศรางกูร ณ อยุธยานิสัยของท่านรักสันโดษ อุปสมบทที่วัดระฆัง เมื่ออุปบทแล้ว จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ รับใช้และศึกษาวิปัสสนากรรมมัฏฐานและไสยเวทอยู่กับท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โตท่านเป็นศิษย์อาวุโสของท่าน สมเด็จพระพุฒาจารย์โตต่อมาท่านได้ไปอยู่ที่วัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อจากนั้นท่านได้ไปอยู่ที่ วัดบางจากจนถึงแก่มรณภาพ
ในช่วงที่ท่านอยู่ที่วัดบางจากนั้น ท่านได้สร้างพระเครื่องไว้แจกจ่ายให้กับผู้ที่เคารพนับถือในตัวท่าน และยังได้นำลงกรุไว้ด้วยถึงสองแห่งด้วยกัน คือ ที่วัดเกาะลอย อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี และวัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อายุพระของท่านคาดว่าสร้างในราวปี พ.ศ.2480 กว่า  




วัดไผ่ล้อม

วัดไผ่ล้อมเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 13 ไร่ - งาน 84 ตารางวา ตามหนังสือ โฉนดเลขที่ 7026 มีอาณาเขตดังนี้คือ ทิศเหนือ จรด ศาลจังหวัดนครปฐม ทิศใต้จรดโรงเรียนวัดไผ่ล้อม ทิศตะวันออก จรด โฉนดที่ดินเลขที่ 7027ทิศตะวันตกจรดถนนสาธารณะของเทศเมืองนครปฐม
วัดไผ่ล้อมเดิม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 มี ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้เกณฑ์ชาวมอญที่ได้อยู่ใต้โพธิสมภาร มาช่วยกันบูรณองค์พระปฐมเจดีย์ และชาวมอญเหล่านี้ได้มาพักอายอยู่ ณ บริเวณสวนป่าไผ่ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์ ห่างกันประมาณ 500เมตร
ในกาลต่อมาดงไผ่ที่ขึ้นหนาทึบและที่อยู่อาศัยร้างผู้คนเป็นที่สงบร่มเย็นพระภิกษุผู้แสวงหาธรรมจาริกมาพบ เห็นเข้า เป็นที่วิเวก จึงได้ปักกลดลดบริขารง บำเพ็ญสมณธรรม รูปแล้วรู)เล่าและก็จากไปเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆต่อ มาชาวบ้าน ละแวกนั้นเห็นว่าสถานที่บริเวณนี้สมควรตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้อราธนาพระภิกษุจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาจำพรรษา แต่ก็ได้เป็นนชั่วครั้งชั่วคราว ขณะเดียวกันยังมีชาวไทยเชื้อสายมอญหลงเหลืออยู่อาศัยในถิ่นนี้และมีศรัทธาแรงกล้าในการบวชพุทธศาสนา จึง สันนิษฐานกันว่าแต่เดิมบรเวณนี้เป็นดงไผ่หนาทึบ กระทั่งพระภิกษุที่อยู่พรรษาที่ก่อสร้างเสนาสนะ และมีผู้คน เข้ามา อยู่อาศัยมากขึ้นต้นไผ่ที่เคยหนาทึบ ได้ถูกชาวบ้านหักล้าง ถางฟันจนหมดเพื่อไปทำที่อยู่อาศัย แทบจะหาต้น ไผ่หลง เหลืออยู่น้อยมาก จะมีอยู่บ้างก็บริเวณรอบๆ วัดเท่านั้น และได้กลายมาเป็นชื่อวัดไผ่ล้อมจนมาถึงปัจจุบันนี้กาลสมัยต่อมา วัดไผ่ล้อมร้างขาดเจ้าอาวาสอยู่นาน กระทั่งปี พ.ศ 2486 ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่ง ตั้งพระอาจารย์พูล อตตรกโข ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสและต่อมา เมื่อสันที่ 12 พฤษภคม พ.ศ. 2492 ท่านจึงได้รับการแต่งตั้ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ยังไม่มีอุโบสถ ไว้ประกอบสังฆกรรมพระอาจารย์พูลจึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมีพระราชธรรมาภรณ์(หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม และญาติโยมผู้มีจิตศัทธาทั่วไปร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นโดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2490 กว่าจะแล้วเสร็จต้องใช้เวลาถึง 3 ปี พระอาจารย์พูล ยังได้ดำเนินการสร้างเสนาสนะให้วัดไผ่ล้อม มีความเจริญ ทางถาวรวัตถุอย่างมากมายหลายประการ อาทิ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาฌาปนสถาน ศาลาปฏิบัติ ธรรมกลางน้ำ หอระฆัง กุฎิสงฆ์ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม จนมาถึงในยุคปัจจุบัน


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
พระบรมธาตุ พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นโบราณสถาน พระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ผู้ที่นับถือในพุทธศาสนา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่กลางใจเมือง
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ที่ตั้ง
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พิกัดแผนที่
ระวาง ๔๙๒๕ I ลำดับชุด L ๗๐๑๗ พิมพ์ครั้งที่ ๒ - RTSD จังหวัดนครศรีธรรมราช พิกัด ๔๗ PPK ๐๖๖๒๙๕
รุ้ง ๘ องศา ๒๔ ลิปดา ๓๐ ฟิลิปดา เหนือ
แวง ๙๙ องศา ๕๘ ลิปดา ๐๑ ฟิลิปดา ตะวันออก
สิ่งสำคัญของ พระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช
1. พระบรมธาตุเจดีย์
2. วิหารพระทรงม้า
3. วิหารเขียน
4. วิหารโพธิ์ลังกา
5. วิหารสามจอม
6. วิหารพระแอด
7. วิหารทับเกษตร
8. วิหารคด
9. วิหารธรรมศาลา
10. วิหารหลวง
11. วิหารโพธิ์พระเดิม
12. พระอุโบสถ
13. เจดีย์รายรอบพระบรมธาตุเจดีย์
14. โบราณวัตถุภายในวัด
ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช

     วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติการสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก
     หลักฐานทางเอกสารที่ชัดเจนปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาดูแลรักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ประวัติจากตำนานที่เล่าเรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวน สามารถประมวลเนื้อหาได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บรักษาเคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพมาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตก ทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสองพระองคืได้กลับไปลังกาโดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็นสถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ต่อมาพระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดนนครศรีธรรมราชเข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราชจึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่า พระบรมธาตุเจดีย์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์ กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชก็ควรสร้างหลังจากนั้นมาก
ส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะมีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น



วัดไชยวัฒนาราม
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งก็ตั้งอยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา
ทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดหนึ่ง ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง
ไม่เหมือนวัดอื่นๆ ใน อยุธยา และเนื่องจากกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบัน
นักท่องเที่ยวยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาด
วัดไชยวัฒนารามสร้างบนพื้นที่ 160 เมตรยาว 310 เมตร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
กล่าวได้ว่าวัดนี้ตั้งตรงกับทิศทางคตินิยมในการสร้างวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมา
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทรงประทับภาย
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญสมาธิ
จนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธรูปซึ่งเป็นหลักของวัด ก็สร้างแทนองค์ประพุทธเจ้า
คือพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งเป็นปางที่แสดงเหตุการณ์ตอน
พระพุทธองค์ตรัสรู้

ประวัติ
วัดไชยวัฒนารามบางครั้งเรียกว่า
วัดไชยยารามและ วัดไชยชนะทาราม
เป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้
สถาปนาขึ้นเป็นวัดอรัญวาศรี ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นนิวาสสถานของพระราชชนนีในปี
ที่ขึ้นครองราชย์ คือปีมะเมีย พ.ศ.2173 สันนิษฐานว่าเป็นวัดประจำรัชกาลด้วย

ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ใช้วัดนี้ในฐานะเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี
สำหรับพระราชทานเพลิงศพของพระราชวงศ์และขุนนางผู้สูงศักดิ์

ในปี พ.ศ.2299 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง)
กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ถูกกล่าวโทษว่าเสด็จเข้ามาทำชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์
ในพระราชวังหลายครั้ง สืบสวนได้ความเป็นสัตย์จริง จึงลงพระราชอาญาเฆี่ยนทั้ง
สองพระองค์จนดับสูญแล้วนำศพไปฝังไว้ ณ วัดไชยวัฒนารามทั้งสองพระองค์

จุดน่าสนใจ
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่ ฐานประทักษิณ ซึ่งฐานประทักษิณ
ได้ยกสูงขึ้นมา จากพื้น 1.5 เมตร มีลักษณะเป็นปรางค์ จัตุรมุข(มีมุขยื่นออกมาทั้ง4ด้าน)
ในส่วน ของมุขด้านตะวันออก จะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐาน
พระพุทธรุปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน 7 ชั้น
แต่ละชั้น เป็นลวดลาย ใบขนุน กลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้
มีลักษณะเหมือน ปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่ง วัดไชยวัฒนารามนั้น สร้างในสมัย
อยุธยาตอนกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยา
ตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง

ปรางค์บริวาร คือปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อม ปรางค์ประธาน มีทั้งหมด 4 องค์
ลักษณะจะเพรียวกว่า ปรางค์ ประธาน

เมรุ คืออาคารทรงยอด แหลมที่อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง 8 ทิศ ภายในคูหาจะประดิษฐาน
พระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ 1 องค์ เมรุมุม เมรุละ 2องค์
ภายในคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง หลงเหลือร่องรอยอยู่เล็กน้อย

ระเบียงคด คือส่วนที่เชื่อมต่อ ระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้ โดยรอบฐานประทักษิณ
ซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ที่บริเวณระเบียงคดนี้ จะมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัย
ประดิษฐานอยู่ รวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้ พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วน
ส่วนนิ้ว ใช้โลหะสำริด ดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียร อยู่ 2 องค์







วัดศรีบุญเรือง
วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดเก่าแก่ ของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ติดกับวัดจองสูง มีพื้นที่ไม่มากนัก สร้างแบบศิลปะพม่าผสมไทยใหญ่สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๕0 เดิมชื่อว่าวัดจองหมากแจง ภาษาไทยใหญ่แปลว่าต้นมะขาม ปัจจุบันพระครูอนุสรณ์ ปัญญาคุณ (เขมรินทร์) เป็นเจ้าอาวาส ได้จัดให้มีการบรรพชาสามเณร หรือปอยส่างลอง ของเยาวชนชาวเผ่า เพื่อได้ศึกษาวิชาสามัญและพุทธศาสนาโดยมีผู้มีจิตรศัทธาให้การสนับสนุน นอกจากนี้บริเวรวัดยังมี ข้อความ คติเตือนใจ พุทธภาษิต เขียนอยู่ทั่วไปและแปลเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้เอง เปรียบดังวัดพูดได้



วัดเทพวราราม
วัดเทพวรารามเป็นวัดในสังกัดธรรมยุติกนิการ  ตั้งอยู่    บ้านถ้ำสันต้นเปา  หมู่ที่ 11  ต. บ้านถ้ำ   อ.ดอกคำใต้  จ.พะเยา  ที่ดินของวัดได้รับบริจาคในปี พ.ศ. 2525โดยพ่ออุ้ยหนานชื่น-แม่อุ้ยเขียว   หวานเสียง   และในบริเวณของวัดเทพวราราม  มีศาสนสถานดังนี้
             1.  ศาลาการเปรียญ  สร้างเมื่อ  พ.ศ. 2525  ซึ่งเป็นศาลาที่ทำด้วยไม้
             2.  
กุฏิสงฆ์  จำนวน  9  หลัง
             3.  
พระอุโบสถ  วางศิลากฤษ์  เมื่อ 12 มิถุนายน 2544  ปัจจุบันยังสร้างไม่แล้วเสร็จ

รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน

1.  พระมหานุตฺตโร 
พ.ศ. 2525-2529

2.  พระสุระ                                
พ.ศ. 2529-2531

3.  พระผัด                                 
พ.ศ. 2531-2533

4.  พระพงษ์ศักดิ์                         
พ.ศ. 2533-2534

5.  พระไพโรจน์
พ.ศ. 2534-2535

6.  พระแก้ว
พ.ศ. 2535-2536

 7.  พระมหาถนอม
พ.ศ. 2536-2537

8.  พระครูบุญสารโสภณ
พ.ศ. 2537-2539

9.  พระบุญต้าน                           
พ.ศ. 2539-2541

10.  พระวีระ
พ.ศ. 2541-2542

11.  พระพรสวรรค์
พ.ศ. 2542-2543

12.  พระสงวนชัย
พ.ศ. 2543-2544

13.  พระมณู   สมาจาโร
พ.ศ. 2544-2547

14.  พระชินกร  สีลสาโร
พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน



วัดควนสระบัว
ประวัติ :วัดควนสระบัวสร้างมาประมาณ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเมื่อก่อนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีสระบัวขนาดใหญ่ โดยมีพระองค์แรกคือ พ่อท่านนิ่ม ในสระบัวจะมีโบสถ์สร้างเอาไว้ ต่อมามีการทำลายและต่อเติมสร้างโบสถ์และศาลาการเปรียญ ผู้ที่ทำหน้าที่สานต่อ คือ หวงพ่อแดง (พระครูธรรมมิตรศารานุวัตร) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูปทุมสรณคุณ


วัดสุวรรณคูหา

    วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลกระโสม ตามทางหลวงหมายเลข 4 (พังงา-ภูเก็ต) ห่างจากตัว เมืองพังงาประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 30 จะมีถนนลาดยาง แยกเข้าขวามือไปอีก 1 กิโลเมตร วัดสุวรรณคูหานี้ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า "วัดถ้ำ" เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่ สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดี บริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขา ซึ่งมีถ้ำใหญ่น้อย ถ้ำที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมืด และถ้ำแก้ว โดยถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด ตลอดความยาวของถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง ถ้วย จานเชิงลายคราม และเบญจรงค์ ถ้ำใหญ่นี้ใช้เป็นวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ มีความงดงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดิน และพระ ราชวงศ์หลายพระองค์ เช่น จปร. ปปร. ภปร. รพ. เป็นต้น นอกจากนั้นบริเวณหน้าถ้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิง จำนวนมากที่ลงมาหาอาหาร เก็บค่าเข้าชมเฉพาะชาวต่างชาติ คนละ 10 บาท


วัดเวฬุวัน
คำว่า เวฬุวัน (Veluvan or Venuvan) เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤต เรียกว่า เวณุวัน แปลว่า สวนไม้ไผ่ ที่นี่คืออารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งมคธได้มอบถวายแก่พระพุทธองค์ในพรรษาแรก
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จไปโปรดที่นครราชคฤห์ ก่อนหน้านี้พระเจ้าพิมพิสารได้มอบถวายสวนำไผ่เวฬุวันนี้แก่ปริพพาชก ครั้นเมื่อพระองค์ศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบันแล้ว มีความปรารถนาจะแสวงหาสถานที่ให้พระพุทธองค์จำพรรษา ทรงพิจารณาเห็นว่าสวนไผ่มีความเหมาะสมที่สุด เพราะอยู่นอกเมือง ไม่พลุกพล่าน และอยู่ใกล้บ่อน้ำร้อน แต่พระองค์ก็ได้มอบสวนไผ่นี้แก่ปริพพาชกแล้ว ความปริวิตกนี้เป็นเหตุให้เทวดาได้เนรมิตฝนแสนห่าตกหนักขับไล่เดียรถีย์ออกจากเวฬุวัน พร้อมกับกล่าวว่า พวกท่านจงออกไปเสีย เจ้าของเดิมมีความปรารถนาจะถวายอารามนี้แก่พระพุทธองค์ สร้างความไม่พอใจแก่เดียรถีย์อย่างมาก แต่ไม่อาจจะทำอย่างไร พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ถวายอารามนี้แก่พระศาสดา
ในเวลาถวายอาราม พระญาติของพระองค์ที่เป็นเปรตได้รับการทรมานอย่างแสนสาหัส รอเวลาที่พระองค์จะทำบุญอุทิศให้นานแสนนาน ต่างมารวมตัวกันรอคอย แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะพระองค์ไม่ได้ทำอย่างที่หวัง ตกดึกจึงเข้าฝันแสดงกิริยาอาการที่น่าเกลียดน่ากลัว เมื่อท้าวเธอมาสอบถามกับพระพุทธองค์จึงได้ความกระจ่าง วันต่อมาจึงทำพิธีมอบถวายอารามอีกครั้ง พร้อมกับกรวยน้ำอุทิศให้ ปรากฏว่าเปรตเหล่านั้นได้รับส่วนบุญกันถ้วนหน้า กลับมาแสดงให้ท้าวเธอเห็นอีกด้วยรูปร่างที่สมบูรณ์ เสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม ทำให้ท้าวเธอภูมิใจยิ่งนัก

ในสมัยพระถังซัมจั๋งเดินทางมาที่นี่ ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับสภาพของพระเวฬุวันไว้ว่า ต่อไปทางทิศเหนือ จากประตูเมืองที่มีภูเขาเป็นกำแพงก็มาถึงเวฬุวันกลันทกะ และยังมีเคหสถานที่ก่อด้วยอิฐปรากฏอยู่ ในกาลครั้งโน้นพระตถาคตเจ้าได้เสด็จมาประทับเนืองๆ และประทานพระวินัยบัญญัติที่นี่ เจ้าของสวนนี้มีนามว่า กลันทะ ได้บริจาคสวนนี้แก่เดียรถีย์ แต่ภายหลังจึงได้ถวายแก่พระศาสดา

พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมโบราณคดีของอินเดีย ได้ขุดค้นบริเวณเวฬุวัน พบโบราณเหล่านี้ คือ ๑. ฐานของสถูปก่อด้วยอิฐ ๙ สถูป ฐานสถูปเหล่านี้ราดด้วยคอนกรีตดินเป็นผืนเดียวกัน ๒. เครื่องแจกันทำด้วยดินเผามากมายในสถูป ๓. แท่งดินเหนียว พิมพ์อักขระจารึกหลักฐานเกี่ยวกับอารามในพุทธศาสนาเป็นตัวอักษรยุคปาละ ๔. ฐานศิลามีรูป พระโพธิสัตว์ประทับนั่ง พร้อมกับรูปปั้นอุบาสก ๒ ชิ้น มีจารึกเขียนว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา ฯลฯ เอวํ วาที มหาสมโณ จารึกไว้ด้วย ๕. พระพุทธรูปในปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์



วัดพิกุลทอง
วัดพิกุลทอง อยู่ในเขตตำบลวิหารขาว ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ไปประมาณ ๙ กม. เรียกกันทั่วไปว่า "วัดหลวงพ่อแพ" (พระเทพสิหบุราจารย์) มีพระพุทธรูปปางประทานพรใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระสุวรรณมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อใหญ่ มีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพ ตั้งแค่อดีตถึงปัจจุบัน



วัดบางเหรียง
วัดบางเหรียง หรือวัดราษฎร์อุปถัมภ์ ตั้งอยู่บนยอดเขาล้าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับปุด ประมาณ 11 กิโลเมตร มีถาวรวัตถุทางธรรมที่มีความสำคัญคือ พระมหาธาตุ เจดีย์พุทธธรรมบันลือซึ่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพุทธปฏิมากรรมขนาดใหญ่ที่สวยงาม เสมือนเป็นอุทยานประติมากรรมกลางแจ้ง มีองค์พระมหาธาตุเจดีย์เป็นรูประฆังคว่ำ ภายในประดับด้วยภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ด้านนอก  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเล็กโดยรอบ ทั้งสี่ทิศมีพระพุทธรูปประจำทิศ ยอดของพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ ตัวโบสถ์และวิหารของวัดสร้างอย่างสวยงามแปลกตา โดดเด่นด้วยพระโพธิสัตว์กวนอิม  และพระร่วง 3 พี่น้อง เป็นพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มเรือนแก้ว พระพุทธอัฐิมงคลชัยนาคปรก ที่สร้างไว้เพื่อปกป้องชาวใต้ให้พ้นจากภัยอันตราย
ในวันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม พุทศาสนิกชนจังหวัดพังงา  และจังหวัดใกล้เคียงต่างพากันมาทำบุญบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ เนื่องจากงานห่มผ้าพระมหาธาตุเจดีย์พุทธธรรมบันลือ วัดราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  เพื่อส่งเสริมให้ชาวพุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันทำบุญเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นให้มีสืบต่อไป



วัดอ่างทองวรวิหาร
สภาพฐานะและที่ตั้งของวัด
วัดอ่างทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในท้องที่เทศบาลเมืองอ่างทอง มีถนนเทศบาลผ่านเข้ามาในบริเวณวัด ๓ สาย คือ ถนนเทศบาล ๑ ผ่านหน้าวัด ถนนเทศบาล ๓ ผ่านทางด้านตะวันออก ถนนเทศบาล ๔ผ่านทางด้านหลังวัดนอกจากนี้ก็มีถนนซอยร่มโพธิ์ทองอีก ๑ สาย เนื้อที่ดินที่ตั้งวัดมีจำนวน ๓๑ ไร่ ๑ งาน ๖๖ ตารางวา ที่ดินระวาง ๕๐๓๘ I ๕๖๑๒-๗ เลขที่ดิน ๗๒ หน้าสำรวจ ๔๒๗ โฉนดเลขที่ ๖๐๔๓ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง อาณาเขตทิศเหนือจดลำแม่น้ำเจ้าพระยา  ทิศใต้ติดที่ดินราชพัสดุและที่ดินของเอกชน   ทิศตะวันออกติดที่ดินของศาลเจ้าและที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกติดที่ดินของไปรษณีย์ และบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เพื่อไปทรงหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ที่จังหวัดพิษณุโลก ที่จะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นผ่านมาถึงหน้าวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงิน ทรงทอดพระเนตรเห็นรั้วหน้าวัดต่างกันเป็น ๒ ตอน จึงทรงรับสั่งถามสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่งนั้นด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุใด  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้กราบบังคมทูลว่า เป็น ๒ วัดติดกัน คือ ทางทิศตะวันตกเป็นวัดโพธิ์ทอง ทางด้านทิศตะวันออกเป็นวัดโพธิ์เงิน ต่างวัดต่างทำ จึงไม่เหมือนกัน พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า “ ควรจะมารวมให้เป็นวัดเดียวกัน และให้ชื่อขึ้นใหม่ว่า วัดอ่างทอง ”  เมื่อเสด็จกลับจากการหล่อจำลองพระพุทธชินราชจำลองแล้ว เสนาบดีกระทรวงหาดไทย ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองว่า ให้รวมวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงินเข้าเป็นวัดเดียวกัน แล้วขนานนามวัดขึ้นใหม่ว่า  วัดอ่างทอง  วัดทั้ง ๒ จึงรวมเป็นวัดเดียวกัน และได้รับขนานนามว่า วัดอ่างทอง อันเป็นมงคลนาม   ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ส่วนเสนาสนะต่าง ๆ ก็ปล่อยให้อยู่ในสภาพเดิม และได้เรียกบริเวณหมู่กุฏิของวัดโพธิ์ทองเดิมว่า "คณะใต้" เรียกหมู่กุฏิของวัดโพธิ์เงินเดิมว่า  "คณะเหนือ" การปกครองก็ขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาสองค์เดียวกัน
การก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นับตั้งแต่พระครูวิเศษชยสิทธิ์ได้มาปกครองวัดก็นี้ได้เริ่มทำการปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะต่างๆเป็นการใหญ่ เริ่มตั้งแต่กุฏิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำกำแพงแก้วพระอุโบสถ ตลอดจนการปูกระเบื้องซีเมนต์พื้นของกำแพงแก้วและได้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์       เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปต่าง อีกด้วย แล้วได้จัดการสร้างศาลาลาย ภายในกำแพงแก้วอีก ๔ หลัง เพื่อสำหรับเป็นที่พักของอุบาสกอุบาสิกา และสร้างศาลาท่าน้ำหน้าวัดอีก ๓ หลัง พระประธานในพระอุโบสถสร้างด้วยก่ออิฐถือปูน เป็นพระปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๕ เมตร สูง ๒.๗๕ เมตร เป็นพระประธานคู่กับวัดมาแต่เดิม ลักษณะไม่งามและไม่ถูกสัดส่วน ในขณะนั้นได้เริ่มชำรุดและเอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จะโค่นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีใครคิดปฏิสังขรณ์หรือแก้ไขให้คืนดังเดิม ด้วยเห็นว่าเป็นพระที่ปั้นด้วยปูน หากจะไปขยับเขยื้อนเข้าก็เกรงว่าเป็นการซ้ำเติมให้พังเร็วลงอีก ซึ่งดูจะเป็นบาปแก่ผู้กระทำ จึงปล่อยให้เอนอยู่อย่างนั้น ต่างพากันคาดคะเนว่า ในชั่วเวลาอีกไม่เกินหนึ่งปีก็จะโค่นลงมาเอง จึงได้ร่วมใจกันหล่อพระประธานขึ้นใหม่ด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๒ เมตร สูง ๒.๐๐ เมตร การที่ทำให้องค์พระขนาดเท่านี้ ก็โดยผู้เชี่ยวชาญคำนวณว่าพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเมื่อครั้งทรงพระชนม์ชีพอยู่มีขนาดเท่านั้น และหวังว่าถ้าพระองค์เดิมพังแล้ว ก็จะนำองค์ที่หล่อขึ้นใหม่ประดิษฐานแทน
การหล่อพระประธานองค์นี้ ครั้งแรกปรากฏว่าตอนพระเศียรไม่ติด ต่างพากันเข้าใจว่าเป็นความบกพร่องของนายช่าง ซึ่งนายช่างก็ยืนยันว่า การหล่อพระพุทธรูปทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยมีความมั่นใจเท่าครั้งนี้ เพราะได้มีผู้ใหญ่มาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก การกระทำทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ แต่ที่มาเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่ไม่วายประชาชนก็โทษนายช่างอยู่นั่นเอง
เมื่อการหล่อครั้งแรกไม่สำเร็จ จึงได้กระทำพิธีหล่อขึ้นใหม่ ในการหล่อครั้งหลังนี้ นายช่างได้กระทำพิธีสักการะบูชา และบอกเล่าพระประธานองค์เดิม จึงปรากฏว่าการหล่อครั้งหลังนี้สำเร็จลง แม้จะไม่เรียบร้อย ก็พอจะตบแต่งได้ จึงส่งเอาลงไปขัดที่บ้านช่างหล่อธนบุรี เมื่อขัดแล้วเสร็จ ก็ได้นำเข้าไปไว้ในพระอุโบสถ  เพื่อรอโอกาสให้องค์เดิมพังก็จะได้นำองค์ใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาอีกไม่นานนักพระประธานองค์ที่คาดกันว่าจะโค่นพังลงมานั้นแทนที่จะโค่นลงตามความคาดหวัง กลับตั้งตรงขึ้นได้อีก เมื่อเหตุการณ์กลับมาเป็นเช่นนี้ จึงชวนให้สงสัย คงจะมีใครไปจัดการแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นแน่ แต่เมื่อได้ตรวจดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่มีรอยปรากฏที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเข้าไปแตะต้องเลย ในขณะที่เอนอยู่เดิมนั้นเพราะแท่นได้ชำรุดลงไปแถบหนึ่ง และแถบนั้นก็น่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ส่วนอีกแถบหนึ่ง การรับน้ำหนักก็มีแต่จะน้อยลง แต่แถบดังกล่าวนี้กลับทรุดลงไปเสมอกันอีก จึงทำให้องค์พระประธานตั้งตรงได้ดิ่งกับฉัตรที่เหนือพระเศียรพอดี
เหตุการณ์ที่กลับมาเป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดความงุนงงแก่ผู้พบเห็นเป็นอันมาก ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านแสดงอภินิหารให้ปรากฏ และท่านคงจะไม่ยอมออกไปจากที่นั้น ประชาชนจึงพามีความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีก โดยทำแท่นให้แข็งแรงและลงรักษ์ปิดทองกันจนเป็นที่เรียบร้อย สำหรับองค์ที่หล่อขึ้นใหม่นั้นก็ได้นำขึ้นประดิษฐานไว้ตอนหน้าพระองค์เดิม
เมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๗ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(พระศารสาลน์-ประพันธ์) ได้ขึ้นมาตรวจโรงเรียนและได้พิจารณาเห็นว่า โรงเรียนประจำจังหวัดซึ่งได้อาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียนอยู่นั้นคับแคบมากและยังต้องให้หอสวดมนต์ และบริเวณกุฏิพระเป็นที่เล่าเรียนอีกด้วย ไม่เป็นการสะดวกแก่นักเรียน และก่อความไม่สงบให้แก่พระสงฆ์ จึงได้ปรารภกับท่านเจ้าคุณพระราชเมธี (พระโพธิวงศาจารย์) ว่าควรจะจัดสร้างอาคารเรียนขึ้นต่างหาก โดยใช้สถานที่บริเวณหมู่กุฏิคณะเหนือ (ที่ตั้งวัดโพธิ์เงิน-เดิม) เป็นสถานที่ปลูกสร้าง ซึ่งก็ได้มีความเห็นชอบร่วมกัน แล้วจึงได้รื้อย้ายเสนาสนะต่าง ๆ นำไปปลูกสร้างกุฏิแถวหลังเดียวกัน ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่กุฏิคณะใต้ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ช่วยออกค่ารื้อย้ายให้ด้วยเป็นจำนวนเงิน ๕๐๐ (ห้าร้อยบาท) แล้วจึงได้ทำการปลูกสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประจำจังหวัดขึ้น ณ ที่แห่งนั้น โดยใช้เงินงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน ๖,๐๐๐ บาท(หกพันบาท) นายพัน ปัทมโรจน์ ผู้เป็นคหบดีผู้หนื่งในตำบลบ้านแห และมีความคุ้นเคยชอบพอกันอยู่กับพระราชเมธี จึงได้บริจาคสมทบอีกเป็นจำนวนเงิน ๕,๑๐๙ บาท (ห้าพันหนึ่งร้อยเก้าบาท) ท่านข้าหลวงประจำจังหวัด (พระประชากรบริรักษ์) ท่านศึกษาธิการจังหวัด (นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์) พร้อมด้วยคณะกรรมการจังหวัดและคณะครูได้ร่วมกันจัดหาได้อีกจำนวนเงิน ,๓๔๑ บาท (หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบเอ็ดบาท) รวมเป็นเงิน ๑๒,๔๕๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยห้าสิบบาท) การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๙ เป็นต้นมา และได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑
ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดอ่างทอง ได้ปรารภกับท่านเจ้าคุณพระราชเมธีว่า วัดอ่างทองตั้งอยู่ติดกับจังหวัด ปัจจุบันเจ้าอาวาสก็ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอยู่ด้วย วัดนี้จึงจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวัดทั้งหลายในจังหวัดอ่างทอง ประกอบกับที่วัดนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ องค์พระเจดีย์ แม่จะได้สร้างขึ้นใหม่ก็จริง แต่ก็ได้บรรจุพระสารีริกธาตุไว้เป็นจำนวนมาก เสนานะต่าง ๆ ก็เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งในด้านการศึกษา ก็มีทั้งฝ่ายปริยัติธรรมและภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดได้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ก็โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้รวมวัดทั้งสองเข้าเป็นวัดเดียวกัน แล้วได้ทรงพระราชทานนามวัดให้ใหม่ อันเป็นมงคลนามสืบเนื่องมาจนบัดนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวงได้ พอดีกับในเดือนตุลาคม ๒๔๘๐ นั้นเอง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ได้ขึ้นมาตรวจราชการที่จังหวัดอ่างทอง และได้แวะเยี่ยมวัดอ่างทอง ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดได้กราบเรียนถึงเรื่องราวที่จะขอพระราชทานยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวงให้ทราบ และได้พาไปตรวจดูเสนานะต่างๆและเขตวัดโดยรอบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ก็มีความเห็นชอบด้วยกับความดำริของข้าหลวงประจำจังหวัด จึงสั่งให้ทำเรื่องราวบอกขอเข้าไปเป็นทางการ
ท่านข้าหลวงประจำจังหวัดจึงได้มอบให้ศึกษาธิการจังหวัด (นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์) เป็นผู้ดำเนินเรื่องราวบอกขอเข้าไปยังกระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ต่อมาในเดือนมิถุยายน พ.ศ.๒๔๘๑ ทางจังหวัดก็ได้รับหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการที่ ๗๔๗๒/๒๔๘๑   ลงวันที่ ๗๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑   ว่า ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดอ่างทองขึ้นเป็นพระอารามหลวง ขั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ แล้ว วัดอ่างทองจึงได้เป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และมีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาจนถึงปัจจุบันดังนี้
๑. พระโพธิวงศาจารย์ (แผ้ว   สุนฺทโร ป.ธ.๓) (พ.ศ.๒๔๕๕-๒๕๑๖) ๒. พระวิเศษชยสิทธิ์ (ผวน   อวิกเขโป) (พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๕) ๓. พระราชสุวรรณโสภณ (บุญส่ง ญาณคุตโต ป.ธ.๘) (พ.ศ.๒๕๒๖-ปัจจุบัน)
หลังจากเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดมาเป็นลำดับ ดังนี้
พ.ศ.๒๔๘๒   นายน้อย นางบุญช่วย เลขาจารย์   ได้ก่อสร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก  แทนรั้วไม้หน้าวัดที่ชำรุดทรุดโทรมไปมาก
พ.ศ.๒๔๘๕   น้ำท่วมโรงเรียนพระปริยัติธรรมชั้นล่าง   ได้เกิดการชำรุดเสียหายหมดต้องจัดทำใหม่   โดยพระเดชพระคุณพระราชเมธี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
พ.ศ.๒๔๘๙   หลังคาพระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรม   นายทองดี   จิตวัตร   นายกรุด   นางบุญมี บริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์   กรมการศาสนาได้จัดสรรเงินและมีชาวบ้านร่วมกันบริจาคทรัพย์   เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถในครั้งนี้ อีกเป็นจำนวนมาก
พ.ศ.๒๕๐๐   กรมการศาสนาได้เพิ่มเงินจัดสรรให้อีก เพื่อทำแท่นพระประธานในพระอุโบสถให้สูงขึ้น รวมทั้งปิดทององค์พระประธานจำนวน ๒ องค์   พระประธานองค์ใหญ่มีรูปลักษณะพระสมัยอู่ทอง