บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วัดต่างๆในประเทศไทย

วัดปทุมวนาราม
ในสมัยราชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริถึงบริเวณนาหลวงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณริมคลองบางกระปิ ในพื้นที่ทุ่งพญาไท ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดเวลาและมีบัวขึ้นอยู่ทั่วไป บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของชาวล้านช้างที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งแต่สมัยกบฏเจ้าอนุวงศ์ จึงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทำนาประกอบอาชีพกันมา มีพระราชประสงค์จะทำที่แห่งนี้ให้เป็นรมณียสถานนอกพระนคร สร้างสระบัวอันงดงามเพื่อเป็นที่เสด็จประภาสสำราญพระราชหฤทัยในยามว่างจากพระราชกิจ ในทำนองเดียวกับที่พระอินทร์ทรงสร้างสระโบกขรณีไว้ในทิศต่างๆ รอบเมืองไตรตรึงส์ทิศละ 2 สระ ดังประกฎคำพรรณนาในหนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถาว่า "ในสระนั้นประดับดาษด้วยปัจพิธปทุมชาติสีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีหงสบาท บ้างตูม บ้างบาน กลีบนั้นหอมหวานเฟื่องฟุ้งบำรุงบำเรอจิตแห่งเทวบุตรแลเทวธิดาให้พิศวาสพิศวง ดอกปทุมชาติบางหมู่นั้นก็มีกลีบแลเกสรอันร่วงลง เจริญขึ้นเป็นฝักอ่อน ฝักแก่ฝักเพสลาด ผลบัวนั้นเอมโอชประหลาดอร่อยรส ทั้งรากแลเหง้าบัวนั้นก็ปรากฏเป็นทิพรสอร่อยยิ่ง ที่จะชมก็งามๆ ทุกสิ่ง พิศไหนงามนั้น ที่จะสูบก็หอมล้ำกระแจะจันทร์ หอมชื่นน่ารัก ที่จะเก็บเอามาบริโภคเป็นภักษาก็อร่อยเลิศ เหตุฉะนี้สระนั้น จึงเป็นที่ชื่นชมยินดีแห่งหมู่อมรเทพทั้งหลายทุกๆ ถ้วนหน้า นิกรเทพทั้งหลายย่อมชักชวนกันมาเล่นหัวร่อระรื่นชื่นบานเป็นผาสุก ภาพสำราญพระทัยในนันทาโบกขรณีนั้น เป็นนิจนิรันดร์บ่มิได้รู้ขาด"

         เหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริครั้งนั้น ปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า เมื่อปี พ.ศ. 2396 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ หรือที่เรียกกันเป็นลำลองสำเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยเป็นแม่กอง ให้พระยาสามภพพ่าย (หนู) เป็นนายงาน ตกลงจ้างจีนขุดลอกสระกว้าง 2 สระ สระทางด้านเหนือเรียกว่า สระใน ทางด้านใต้เรียกว่า สระนอก ติดต่อถึงกัน ปลูกบัวพันธุ์ต่างๆ ไว้ในสระทั้งบัวสาย บัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง แล้วทำเป็นเกาะน้อย เกาะใหญ่ลดเลี้ยวกันไป บนเกาะปลูกพืชผักพรรณและไม้ดอก หากที่หลวงไม่พอให้ซื้อที่ราษฎรเพิ่มเติมต่อไปอีก ทางฝั่งเหนือของสระในกำหนดเป็นเขตหวงห้ามส่วนพระองค์ชักกำแพงล้อมลอบ ข้างในปลูกโรงเรือนขึ้นเป็นพระที่นั่งสำหรับประทับแรม 1 องค์ พลับพลาสำหรับเสด็จออกโรงละคร เรือนฝ่ายในเป็นที่ประทับแรมของเจ้าจอม โรงครัวข้างในและโรงครัวเลี้ยงขุนนางข้างหน้า ส่วนสระนอกอนุญาตให้เป็นที่เล่นเรือของข้าราชการและราษฎรทั่วไป รมณียสถานแห่งนี้พระราชทานนามว่า ปทุมวัน คำนี้แปลว่า ป่าบัวหลวง แต่เนื่องจากขุดไว้เป็นสระอย่างงดงามจึงเรียกกันอย่างลำลองว่า สระปทุม ส่วนบริเวณที่ประทับพระราชทานนามว่า วังสระปทุม

         ครั้งสร้างวัดและสร้างสระปทุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2400 ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 7 พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมาประทับแรมที่วังสระปทุมเป็นครั้งแรก ถึงแก่ต้องมีหมายกำหนดการเสด็จประภาสหัวเมือง
ปทุมวนาราม : วัดสระปทุม
         เมื่อสร้างสระบัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นที่ทิศตะวันตกของสระนอก เพื่อพระราชทานพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิริทราบรมราชินี พระราชทานนามว่า วัดปทุมวนาราม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดสระปทุม หรือวัดสระ เมื่อสร้างหมู่กุฏิเสร็จไปบ้าง ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาพระครูชื่อกล่ำ ซึ่งเคยเป็นพระฐานานุกรมเมื่อครั้งที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารมาเป็นเจ้าอาวาส พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูปทุมธรรมธาดา แล้วนิมนต์พระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาประจำพรรษาด้วย และได้พระราชทานข้าพระจำนวนหนึ่งสำหรับปฏิบัติอุปัฏฐากพระภิกษุอีกด้วย
           ครั้งถึงเดือน 12 น้ำมาก สระบัวบริเวณดังกล่าวจึงมีสภาพงดงามน่าเพลิดเพลินใจ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับอยู่ 2 ราตรีบ้าง 3 ราตรีบ้าง ให้เจ้าจอมข้างในลงเรือพายเก็บดอกบัวและพรรณไม้พรรณผัก ชิงกันขึ้นเรือสำปั้นน้อย นอกจากนั้นยังทรงพระราชสัทธาจะให้พระสงฆ์ในอารามต่างๆ เข้าไปบิณฑบาตโดยเรือสำปั้นทุกๆ เวรที่เสด็จประภาสและประทับแรมโดยเฉพาะ

         ถ้าเป็นฤดูน้ำในสระปทุมนั้น ก็เหมือนสระสวรรค์อันชะลอมาตั้งอยู่ในเมืองมนุษย์ ผู้ใดได้พบเห็นก็นับเป็นบุญตาและบุญตัว น้ำในสระจะเอ่ออาบเสมอขอบฝั่ง และแลไปเบื้องหน้าเกาะต่างๆ ที่โปรดให้สมเด็จพระยาองค์น้อยกับพระยาสามภพพ่ายประดิษฐ์ขึ้นนั้นแลสลับสล้าง ลางเกาะหมู่เข้ามาปกคลุมครึ้มเหมือนกับธรรมชาติ มาช่วยส่งเสริมให้งดงามยิ่งขึ้น เวลาค่ำให้มีผ้าป่า และละครข้างใน (หมายถึงละครใน) ที่พระราชวังนั้นบ้าง ก็ยามนั้นแล บรรดาเจ้าจอมหม่อมห้ามต่างลงเรือแต่ละลำ แต่งกายโอ่อ่าหอมฟุ้งไปด้วยเครื่องร่ำ กำยาน สุคันธรส และโดยเฉพาะขณะใดที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทนำวงสักวาดอกสร้อยเข้าลอยลำขับร้องโอดพัน มีโทนทับกรับฉิ่งตีเป็นจังหวะด้วยแล้วยามนั้นก็สุดจะเปรียบสระปทุมกับสิ่งใดๆ ในเมืองมนุษย์ได้ เสียงขับกล่อมโอดโอยโหยหวนเสียงโทนทับท้าทายเร่งจังหวะเสียงร้องดอกสร้อยแก้กัน และยามค่ำเรือทุกลำต่างจุดประทีปสว่างไสวพร่างพรายสะท้อนแสงลงในสระเป็นประกายงดงามยิ่งนัก อุปมาเหมือนชะลอสระอโนดาษแห่งสวรรค์ชั้นวิมานแมนลงมาตั้งอยู่ ณ ที่นั้น เป็นดังนี้ทุกๆ ปี

         ครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือในความสนุกสนานกันมากทั้งเจ้าจอมหม่อมห้าม และบรรดาข้าราชการ อำมาตย์ ราชเสวก เมื่อเอ่ยถึงสระปทุมแล้วหมายถึงเรื่องรื่นรมย์เป็นอย่างยิ่งสำหรับสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงสำราญพระราชหฤทัยด้วยดุจกัน

         ครั้นการก่อสร้างวัดเสร็จลงเป็นส่วนใหญ่ ณ เดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2501 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคไปเชิญพระใส และพระแสนมาจากวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี แล้วแห่แหนมาประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม

         พระใส หรือ พระสายน์นี้ได้มาจากเมืองเวียงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2400 ในรัชการที่ 4 ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ ตำนานพระสายน์วัดสระปทุม เป็นภาษาบาลีแล้วแปลเป็นภาษาไทย ดังจะได้อัญเชิญบางตอมมาเป็นธรรมทานแก่ผู้ใฝ่รู้ดังนี้

         สายนาติ วุตฺตฺนามา ได้มีชื่อกล่าวแล้วว่า "สายน" ดังนี้...
         
พระปฏิมาแห่งองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคพระพุทธเจ้านี้ อันประดิษฐานอยู่แล้วในที่นี้ ได้สร้างไว้นานแล้วด้วยวัฏฏโลหอันเจือกัน อย่างดีแท้มีน้ำหนักมากเปนแท่งสนิทแท้ เกลี้ยงเกลาดีเหลืองามคล้ายกับสีทอง ก็แต่ว่าจะทำอย่างไรได้เราทั้งหลายไม่ทรายชัดว่า ได้สร้างขึ้นด้วยเหตุไร ได้สร้างในที่ไหน ได้สร้างขึ้นเมื่อไร รู้แต่ว่า เปนหัตถกรรมของช่างลาวแท้ ได้ประดิษฐานอยู่แล้วในลาวราษฐ...

         นอกจากเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามแล้ว ยังมีคุณวิเศษในด้านยังความชุ่มชื้นให้แผ่นดิน ดังความในพระราชนิพนธ์ดังนี้

         พระปฏิมาเจ้านี้ มีมหิทธิเปนอันงดงามฉันใด กิติศัพท์ทั้งหลายอันชนประจำเมืองทั้งหลายแม้มาก ในเมืองมหาชยปุรเปนต้นทั้งหลายได้กล่าวแล้วฉันนั้นว่า ฝนแล้งจะพึงมีในกาลใด ถ้าหากว่าพระปฏิมาเจ้านี้ ได้บูชาแล้วในสถานอันสะอาดในที่แจ้ง ครั้นเมื่อการขอเพิ่มให้ฝนตกได้ทำแล้ว ฝนก็ย่อมตกโดยชอบ ยังธัญญทั้งหลายมีเข้ากล้าเปนต้นให้ถึงพร้อมได้ ย่อมนำเมทนีให้สำเร็จโดยอานุภาพแห่งพระปฏิมาเจ้านั้น ในกาลนั้นแท้

         ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ราชเสวกซึ่งเป็นเจ้าลาวโสณณังกุร (หน่อคำ) ไปเชิญมาไว้ในพระนคร ด้วยแต่เดิมอยู่ในถ้ำไม่มีคนดูแลรักษา ดังความในพระราชนิพนธ์ดังนี้

         เจ้าลาวโสณณังกุรนั้นได้ไปถึงลาวราษฐในกาลนั้น ได้ฟังกิตติศัพท์แห่งพระสายนปฏิมาเจ้าอันแผ่ไปเป็นอันงาม ครั้นไปถึงเมืองมหาชยปุรแล้ว ได้เห็นพระพุทธรูปชื่อสายน ในที่นั้นด้วยตนเอง อันประดิษฐานอยู่เปนอันดีในคูหา มิได้มีอารักขา มีประชุมเปนอันมาก หากบูชาแล้วโดยกาลานุกาล จึงกล่าวอ้างพระราชนามเชิญเอาพระปฏิมาเจ้านั้น โดยราชานุภาพของพระเจ้ากรุงสยาม ครั้นถึงพระนครนี้แล้ว กราบทูลปวัติทั้งปวงแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระราชาเจ้า

         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประดิษฐานไว้เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ณ วัดปทุมวนาราม ดังนี้
ในกาลนั้นฝ่ายว่าสมเด็จพระปรเมนมหามกุฏมหาราชเจ้า ผู้ทรงพระมหาอุสาหะผู้ทรงเลื่อมใสแล้วในพระพุทธสาสนา จึงทรงสร้างพระวิหารนี้ขึ้นในที่ลุ่ม, อันเปนรมณียสถาน ขนานชื่อว่า วัดปทุมวันนี้ ได้ยังวัตถุทั้งหลายทั้งปวงให้ประดิษฐานอยู่

         
ครั้งเมื่อปฏิฆรอันองค์พระได้สร้างแล้วในขัณฑสีมานี้ สมเด็จพระเจ้าชนาธิปราชได้เชิญพระพุทธรูปชื่อ สายน อันงามนี้ ที่พระองค์ได้แล้วโดยอนุภาพอย่างนี้ให้เปนประธานเจดีย์ ประดิษฐานไว้ ได้ทรงทำการบูชาพระปฏิมาเจ้านั้นประกอบในกาลอันเนืองนิตย์

         
ขอเทพดาเจ้าทั้งหลายก็ดี มนุษย์ทั้งหลายก็ดี หรือ คฤหัสถ์แลบรรพชิตทั้งหลายแม้ทั้งปวง ผู้ที่นับถือซึ่งวัตถุมีพุทธาทิรัตนเปนต้น ได้มาแล้วมาแล้วในที่นี้จงพากันนมัสการโดยชอบเถิด จงพากันบูชาซึ่งพระปฏิมาเจ้ามีสมญาว่า สายน นี้เปนพุทโธทสิกเจดีย์ตามควรแก่กำลังเถิด จงอนุโมทนาซึ่งพระราชบุญทั้งหลายที่พระองค์ได้ทรงกระทำแล้วโดยอเนกปการ ด้วยประการนั้น ของพระราชาเจ้า ผู้ใคร่ต่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งหลายทั้งปวงเกิด

         ส่วนพระแสนนั้นก็เป็นพระพุทธรูปเก่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จนเป็นที่เลื่องลือเช่นเดียวกัน แต่เดิมอยู่ในถ้ำแขวงเมืองมหาชัย ประเทศลาว ไม่มีผู้เฝ้ารักษาได้อัญเชิญมาฝั่งไทยในคราวเดียวกับพระใส เมื่อแรกที่อัญเชิญยังวัดปทุมวนารามนั้นประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถก่อน ต่อมา พ.ศ. 2408 จึงได้โปรดเกล้าให้ย้ายไปยังวิหาร ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระเสริม

         พระเสริม เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่ง มีพุทธศิลป์ที่งดงาม ตามประวัติว่าเป็นฝีมือช่างศรีสัตนาคนหุต(ลาว) ในรัชการที่ 3 เมื่อมีกบฏในเมืองเวียงจันทร์(กบฏเจ้าอนุวงศ์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ยกทัพขึ้นไปปราบ โปรดให้อัญเชิญพระเสริมเข้ามาที่วัดโพธิชัย แขวงเมืองหนองคาย และเชิญเข้ามาในพระนครในรัชการที่ 4 ครั้นเมื่อสร้างวัดปทุมวนารารมแล้ว จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานขอยู่ในพระวิหาร

         นอกจากพระพุทธรูปที่สำคัญ 3 องค์แล้ว ยังมีปูชนียวัตถุอีกอย่างหนึ่งที่ได้มาตรั้งสมัยรัชการที่ 4 นั่นคือพระศรีมหาโพธิ์ ใน พ.ศ. 2407 สมเด็จพระราชินีนารถวิคตอเรียแห่งราชอานาจักรอังกฤษ โปรดให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประเทศอินเดีย เชิญหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา ซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แทนที่จะเป็นหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกาดังเช่นในกาลอดีต

         อนึ่ง การที่ได้โปรดให้นิมนต์พระราชาคณะมารับบิณฑบาทในเวลาที่เสด็จประทับแรมนั้น ได้โปรดให้ยกเลิกไปเมื่อพุทธศักราช 2509 แต่ฤดูหน้าน้ำเดือน 11 สิ้นฤดูพรรษายังเสด็จทอดพระกฐินพระราชทานและยังมีการร้องรับขับคลอสักวา และดอกสร้อยอยู่อีกตลอดรัชสมัย

         แม้ว่าการสร้างวัดปทุมวนารามจะเสร็จสิ้นลง และทรงพระราชดำริจะให้จัดงานสมโภชในปี พ.ศ. 2504 แต่บังเอิญสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสวรรคตเสียก่อน ประจอบกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการบ้านการเมืองหลายด้าน งานฉลองสมโภชจึงงดไปแล้วไปจัดสมโภชกันใน พ.ศ. 2510 ณ วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2510 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 1 ปีเถาะ
       วัดปทุมวนารามนอกจากจะมีความสำคัญมาก ดังจะเห็นได้จากประวัติแรกสร้างแล้ว ในกาลต่อมายังมีความสำคัญในส่วนอื่นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ พระราชสรีรางคารและพระอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์หลายพระองค์มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินี เป็นอาทิ แต่เนื่องจากการขยายตัวของบ้านเมือง และการปรับปรุงพื้นที่เป็นลำดับมา ทำให้สภาพของวัดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก ปัจจุบันจึงมีเพียงสระบัวกับเขามอเล็กๆ และอ่างบัวให้เห็นเป็นที่ระลึกถึงความงดงามของปทุมวนา หรือสวนบัวในอดีตให้คนรุ่นหลังให้เห็นบ้าง


วัดเกาะแก้ว
ฐานะและตำบลที่ตั้ง
วัดเกาะแก้วเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักตะวันออก หรือริม
ปากคลองข้าวสารฝั่งใต้ ตรงกันข้ามกับวัดรัตนชัย (วัดจีน) ในท้องที่ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เขตและอุปจารวัด
วัดมีเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ
ติดลำคลองข้าวสารฝั่งใต้
ทิศใต้
ติดต่อกับที่ดินของราษฎร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันตก
ติดริมแม่น้ำป่าสัก

  
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวัด
เมื่อประมาณกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว ท่านผู้รู้กล่าวว่า ทางด้านทิศตะวันตกของวัดเกาะแก้วคือทางแม่น้ำป่าสักทุกวันนี้ ที่ตั้งของวัดมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบันนี้มาก เนื่องจากทางวัดเกาะแก้วตั้งอยู่ริมน้ำลำคลองดังกล่าวมาแล้ว ประกอบกับบริเวณนี้เป็นท้องคุ้ง โดยเฉพาะที่ปากคลองข้าวสารนี้เมื่อถึง
ฤดูน้ำ น้ำจะไหลแรงและเชี่ยวจัดมีวนใหญ่
จึงทำให้กระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งพังไปทุกปีๆ แต่เดิมมีอุโบสถหลังเก่าก็ถูกน้ำกัดเซาะพังลงไปในแม่น้ำทั้งหลัง จึงทำให้บริเวณพื้นที่ของวัดแคบลงโดยลำดับ
ปัจจุบันทางวัดได้รวบรวมอาณาเขตของวัดร้างบริเวณใกล้เคียงอีกวัดหนึ่งเข้าด้วยกันทำให้อาณาเขตของวัดกว้างขึ้นอีก วัดร้างที่รวมเข้ากับวัดเกาะแก้วก็คือ วัดปราสาท ปัจจุบันยังมีซากอุโบสถซึ่งเหลือแต่ผนังทั้ง ๔ ด้าน มีประตูและหน้าต่างปรากฏอยู่
เพื่อประโยชน์ในด้านความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับภูมิสถานที่ตั้งของวัดเกาะแก้ว จึงขอแทรกเรื่องราวของ แม่น้ำป่าสัก ไว้สักเล็กน้อย คือ
ตั้งแต่ท้ายวัดพนัญเชิง ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลูขึ้นไป เดิมเป็นคูเมืองพระนครศรีอยุธยา เรียกว่า ขื่อหน้า หรือ คูขื่อหน้า ในพระราชพงศาวดารหลายฉบับกล่าวไว้ตรงกันว่า ตรงบริเวณเกาะแก้วนั้นมีแต่คู หาแม่น้ำกั้นมิได้
ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๑ ถึง พ.ศ. ๒๑๑๒ ยังเป็นคูแคบๆ เมื่อในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช กองทัพพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงถมถนนเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ต่อมา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. ๒๑๑๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขยายให้กว้างไปเป็น ๑๐ วา และในเวลานั้นสายน้ำแควลพบุรีซึ่งเดิมลงมาทางบางพระครู ผ่านนครหลวงมาเลี้ยวลงที่คลองบ้านม้า หันตราออกปากน้ำแม่เบี้ยที่บางกะจะ ใต้วัดพนัญเชิง
ส่วนแม่น้ำป่าสัก เมื่อลงมาจากทางเหนือถึงบ้านอรัญญิก อำเภอนครหลวง แล้วลงทางบ้านพระแก้วผ่านทางรถไฟทางตะวันออก ลงมาทางหน้าที่ว่าการอำเภออุทัยไปบ้านช้าง บ้านซ้องแมว และบ้านสร้างออกลำน้ำเจ้าพระยาที่บ้านโพในท้องที่อำเภอบางปะอิน
ด้วยสาเหตุที่สายน้ำตามลำน้ำใหญ่ทั้งสองสายนี้ยังไม่มีทางทะลุผ่านมาทางพระราชวังจันทรเกษม (วังหน้า) ลำขื่อหน้าจึงเป็นแต่เพียงคูเมืองพระนครศรีอยุธยา ต่อมา แม่น้ำป่าสัก (หันตราแม่เบี้ย) เกิดเปลี่ยนแปรแคบเขินเพราะมีการขุดคลองลัดขึ้นอีกที่ตำบลบ้านม้า ศาลาเกวียน ผ่านหน้าวัดตองปุ วัดป่าโค และวัดช่องลม (ร้าง) มาข้างเหนือวัดมณฑปติดกับคูขื่อหน้า (คูเมืองพระนครศรีอยุธยา) คลองลัดนี้เองภายหลังต่อมาน้ำไหลแรงเซาะกัดกว้างใหญ่ตลอดจนคูหน้าขื่อก็ถูกเซาะกว้างไปด้วย จึงถูกเรียกกันในปัจจุบันว่า แม่น้ำป่าสัก
ส่วนคำว่า เกาะแก้ว นั้นมีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารเป็นครั้งแรกเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เรียกว่า คลองเกาะแก้ว บ้าง มุมเกาะแก้ว บ้าง ตรงบริเวณเกาะแก้วนั้นมีถนนและกำแพงเรียกว่า ถนนมุมเกาะแก้ว กำแพงเกาะแก้ว และเข้าใจว่า บริเวณนี้คงจะเป็นเกาะๆ หนึ่งจะเรียกว่า
เกาะแก้ว มาจนทุกวันนี้ สำหรับวัดเกาะแก้วนั้นน่าจะสร้างขึ้นภายหลังในรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง และน่าจะสร้างขึ้นเมื่อมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านหน้าวัดแล้ว
ณ บริเวณเกาะแก้วนี้มีเหตุการณ์ที่สำคัญๆ ที่พงศาวดารบันทึกไว้หลายครั้ง เช่น เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช เมื่อกองทัพพม่าเข้ามาตั้งล้อมกรุงแล้ว พระเจ้าหงสาวดีเรียกแม่ทัพทั้งปวงมาประชุมปรึกษาการที่จะตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชาเห็นว่า กำลังกองทัพที่ยกมามีมากมายควรจะเข้าตีหักเอาพระนครให้พร้อมกันทุกด้าน เพราะนานวันจะเกิดความลำบากด้วยสะเบียงอาหาร อีกประการหนึ่ง ถ้าถึงฤดูฝนก็จะทำการไม่สะดวก จึงเห็นว่า ควรจะรีบเข้าระดมตีเอากรุงศรีอยุธยาเสียให้ได้โดยเร็ว เพราะเจ้าหงสาวดีไม่เห็นชอบด้วย
ตรัสว่า กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบเป็นที่มั่นคงไม่เหมือนเมืองอื่นๆ การที่ให้จัดการป้องกันบ้านเมืองก็ตระเตรียมไว้เป็นอย่างสามารถ ถึงคนน้อยก็อาจจะสู้คนมากได้ ถ้ายกเข้าตีพร้อมกันทุกด้านจะเสียรี้พลล้มตายมากนัก ฉวยตีไม่ได้ก็จะพากันเสียข้าศึกทุกทัพ จำจะต้องคิดอ่านตึกตรองโดยวิธี ถึงจะช้าวันไปก็อย่าให้มีทีท่าที่จะเสียข้าศึกจึงจะชอบ จึงกะการให้เข้าตีพระนครแต่ข้างด้านตะวันออกด้านเดียวด้วยคูเมืองยังแคบดังกล่าวมาแล้ว ด้านอื่นๆ เป็นเพียงแต่ล้อมไว้ให้มั่นคง พระเจ้าหงสาวดีจึงยกค่ายลงมาตั้งที่ใกล้วัดมเหยงค์ข้างด้านตะวันออกให้กองทัพพระมหาธรรมราชาไปเที่ยวตัดต้นตาลส่งมาให้มาก แล้วให้พระมหาอุปราชาเป็นผู้อำนวยการตีพระนคร ให้ตั้งค่ายแนวแรกห่างคูเมืองออกไปประมาณ ๓๐ เส้นก่อน อาศัยค่ายนั้นตัดเตรียมการพร้อมแล้วก็ให้รุกเข้ามาตั้งค่ายอีกแนวหนึ่งห่างค่ายเดิมเข้ามาประมาณ ๑๐ เส้น ขุดดินทำสนามเพลาะและถมเชิงเทินแล้วเอาไม้ตาลปักรายเป็นเสาระเนียดกันปืนที่ยิงออกไปจากกรุง พวกหงสาวดีที่เข้ามาตั้งค่ายถูกชาวพระนครเอาปืนใหญ่ยิงล้มตายเป็นอันมาก จะยกเข้ามาทำการในกลางวันมิได้ ต้องลอบเข้ามาตั้งค่ายต่อในเวลากลางคืน เจ้าหน้าที่ในพระนครก็แต่งกองอาสาทะลวงฟันสู้รบกันมิได้ขาด พระเจ้าหงสาวดีต้องให้ไพร่พลมาเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก จึงตั้งค่ายแนวที่สองลงได้ ครั้นตั้งค่ายที่สองมั่นคงแล้วก็ให้รุกมามาตั้งแนวที่สามถึงคูเมือง ตอนนี้ใกล้ค่ายไทย ไทยยิงได้ถนัดถูกพวกหงสาวดีล้มตายลงมากกว่าแต่ก่อน ต้องขุดอุโมงค์บังคับตัวเข้ามาเป็นหลายสาย ครั้นใกล้ลำน้ำแล้วจึงขุดอุโมงค์แล่นหากันตามยาวแนวค่ายทำแต่ในเวลากลางคืน พยายามอยู่กว่าเดือนสองเดือน จึงเข้ามาตั้งค่ายแนวที่สามได้ถึงคูเมืองแต่ก็มาติดอยู่เพียงนูนด้วยไทยยังอาศัยเรือรบช่วยป้องกันพระนครได้ พวกหงสาวดีจะข้ามคูเมืองเข้ามาก็ถูกไทยยิงล้มตายถอยกลับออกไปหลายครั้ง พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กองทัพเรืออ้อมลงมาทางสะพานเผาข้าว (คลองสีกุก) มาออกบางไทรลงมาตั้งตรวจตรารักษาแม่น้ำเมืองธนบุรี
เมืองนนทบุรีขึ้นมากักเรือให้ขึ้นมาช่วยที่กรุงได้แล้ว ทางโน้นให้ระดมคนเข้าถมทำทางข้ามมาตีพระนครให้แบ่งหน้าที่กันเป็น ๓ ตอนข้างใต้ให้กองทัพพระมหาอุปราชาถมคูทำทางเข้ามาตรงเกาะแก้วทาง ๑ ตอนกลางให้พระเจ้าแปรคุมพลทำทางข้ามคูเข้ามาที่วัดจันทน์ตรงบางเอียน (หลังสถานีรถไฟอยุธยา) ทาง ๑ ตอนเหนือให้พระเจ้าอังวะถมคูทำทางเข้ามาตรงสะพานเกลือ (ใต้พระราชวังจันทรเกษม) อีกทาง ๑ พระเจ้าหงสาวดีคาดโทษว่า ถ้าด้านไหนทำไม่สำเร็จจะเอาโทษแม่ทัพถึงชีวิต พระมหาอุปราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ ต่างเกรงพระราชอาญาก็ให้เอาไม้ตาลมาทุบพอบังตัวไพร่พลแล้วเร่งรีบขับต้อนเข้ามาถมคลอง ชาวพระนครเอาปืนยิงตายเสียมากต่อมากพวกหงสาวดีก็ยังขับกันหนุนเนื่องเข้ามาคนข้างหน้าตายลง คนมาข้างหลังก็เอาดินถมทับศพเลยมา ด้วยความกลัวอาญาพระเจ้าหงสาวดีเป็นกำลัง
ในขณะเดียวกันสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรสรรคต ชาวพระนครมีความว้าเหว่ พระยารม พระยากลาโหม และพระมหาเทพเห็นว่าไพร่พลพากันย่อท้อรักษาค่ายริมคูเมืองไว้ไม่ได้ จึงให้กองทัพถอยเข้ามาตั้งค่ายอีกแนวหนึ่งข้างในพระนคร เอากำแพงเมืองเป็นแนวหน้าต่อสู้ข้าศึก พระเจ้าหงสาวดีเห็นได้ทีให้ขับพลเข้าตีพระนครทางด้านตะวันออกพร้อมกัน ข้าศึกเข้าเมืองได้ตรงเกาะแก้วแต่พระมหาเทพผู้เป็นนายด้านตรงนั้นเข้มแข็งในการศึก เอาค่ายแนวที่ทำขึ้นใหม่เป็นที่มั่นต่อสู้กับข้าศึกษาไว้อยู่ พวกหงสาวดีล้มตายลงเป็นอันมาก จะหักตีเอาพระนครไม่ได้ก็ต้องถอยข้ามคูกลับไป
ในจดหมายเหตุพรรณนาภูมิลำเนาสถานกรุงศรีอยุธยากล่าวออกชื่อ วัดเกาะแก้ว ไว้ตอนหนึ่งมีความว่า แสด้านขื่อบรรภ์ทิศ แต่หัวรอมาถึงเรือจ้างข้ามไปวัดสะพานเกลือ ๑ เรือจ้างข้ามออกไปวัดนางชี ๑ เรือจ้างข้ามออกไปวัดพิชัย ๑ เรือจ้างข้ามออกไปวัดเกาะแก้ว ๑ ด้านขื่อทิศบรรภ์ห้าแห่งทั้งหัวรอ
เมื่อพิจารณาตามจดหมายเหตุฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่วัดเกาะแก้วคงจะเป็นท่าเรือจ้างสำหรับประชาชนพลเมืองข้ามฟากไปมาเป็นประจำ และคงจะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงหรือมีความสำคัญวัดหนึ่ง
อนึ่งเมื่อก่อนกรุงศรีฯ ใน พ.ศ. ๒๓๐๑ ณ. ที่วัดเกาะแก้ว นี้เคยเป็นที่ตั้งค่ายของกองทัพไทยค่ายหนึ่งใน ๙ ค่ายด้วยกัน คือด้านเหนือที่วัดหน้าพระเมรุแห่ง ๑ ที่เพนียดคล้องช้างแห่ง ๑ ด้านตะวันออกตั้งที่วัดมณฑปแห่ง ๑ ที่วัดเกาะแก้วแห่ง ๑ ด้านใต้ให้หลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีนคุมพวกจีนบ้านในไก่ ๒,๐๐๐ คนลงไปตั้งค่ายที่บ้านสวนพลูแห่ง ๑ ให้พวกคริสตังตั้งค่ายริมวัดพุทธไธสวรรย์แห่งหนึ่ง ด้านตะวันตกให้กรมอาสาหกเหล่าตั้งที่วัดชัยวัฒนารามแห่งหนึ่ง แต่ค่ายที่วัดเกาะแก้วได้ความว่า พระยาตากสินเป็นเจ้าหน้าที่รักษาการด้านตะวันออกอยู่ที่วัดนี้ คราวหนึ่งเป็นพวกพม่ายกเข้ามาเอาปืนยิงข้าศึกโดยไม่บอกศาลาลูกขุนก่อน ภายหลังมีโจทย์ฟ้องภาคทัณฑ์โทษไว้ ตั้งแต่นั้นมา พระยาตากสินก็ท้อใจ คิดแต่จะหนีจากกรุงศรีอยุธยา จ.ปราจีนบุรี ปล่อยให้กรุงศรีอยุธยาต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจ นี่คือประวัติเพียงย่อๆ เท่านั้น


วัดป่าธรรมโสภณ

วัดป่าธรรมโสภณ (Wat Pa-Dhammasopon) เป็นวัดตั้งอยู่เลขที่ 225/1 หมู่ 1 ถ.ราชมนู ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
วัดป่าธรรมโสภณ พื้นที่ของวัดเป็นสันคูเมือง อยู่ห่างจากศาลพระกาฬประมาณ 500 เมตร สร้างขึ้นเป็นวัด นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2225 ต่อมา กลายสภาพเป็นวัดร้าง ถูกทิ้งร้างอยู่ใจกลางเมืองลพบุรีมาแต่ครั้งในอดีต บริเวณวัดเป็นป่าไม้นานาชนิด ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดป่า มีวิหารอยู่หลังหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในอดีต เดิมชื่อ วัดป่าเรไลย์ ต่อมาในปี พ.ศ.2448 คุณถนอม, คุณพรรณ, คุณเชย, พระสมบัติยาธิบาล มีจิตศรัทธาอันเป็นมหากุศล มาปฏิสังขรณ์วิหาร ซึ่งมีอักษรจารึกอยู่หน้าบันวิหารดังกล่าว ต่อมาปี พ.ศ.2449 พระอธิการฉาย สุวรรณสร (หลวงพ่อฉาย) พร้อมด้วยเพื่อนสหธรรมิกอีก 4 รูป ศิษย์วัดอีก 6 คน รวม 11 คน มาประจำอยู่ที่วัดป่าแห่งนี้และเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า วัดป่าธรรมโสภณ ช่วยกันพัฒนาวัดจนได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2498 และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499





วัดท่าหลวง

วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร
   องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม และทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง(พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
   หลวงพ่อเพชร นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามทรงรูปศิลป์แล้ว พระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกหล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร สังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปี
   หลวงพ่อเพชรยังเป็นพระพุทธรูปทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกิตติศัพท์นานัปประการเมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่หลวงพ่อเพชรที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร พลังแห่งความนับถือ พุทธานุภาพของหลวงพ่อเพชรจะไม่จางหายไปจากหัวใจของชาวพุทธ
   ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชรยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต้ครั้งบรรพกาลว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทอง เมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจอมทอง เมื่อเดินทัพมาถึงเมืองพิจิตร แม่ทัพก็ได้สั่งให้หยุดพักรี้พลที่เมืองพิจิตร ซึ่งทางเจ้าเมืองพิจิตรก็ได้ให้การต้อนรับปฏิสันถารเป็นอย่างดี ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาหายเหนื่อยแล้ว จึงออกเดินทางจากเมืองพิจิตร แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หาพระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ฝ่ายทางแม่ทัพเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ยุ่งยากนัก จึงรับปากว่าจะหามาให้ตามความต้องการ หลังจากนั้นก็มุ่งสู่จอมทอง เมื่อไปถึงได้ปราบขบถจอมทองจนราบคาบ ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง เมื่อมาถึงเมืองกำแพงเพชรก้ได้ฝากหลวงพ่อเพชรไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองพิจิตรทราบข่าวจึงพร้อมด้วยชาวเมืองพิจิตรเป็นจำนวนมาก ได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งนำความชื่นชมโสมนัสมาสู่ชาวพิจิตรเป็นอย่างมาก
   จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม เพื่อนำไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร เจ้าพระศรีสุริยศักดิ์ สหมุเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก จึงได้สั่งให้หระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร ขณะนั้นแสวงหาพระพุทธรูปที่สวยงามตามพระราชประสงค์ เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้นพระยาเทพาธิบดีจึงออกตรวจดูพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปในเมืองพิจิตร ก็พบว่าองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามตามพระราชประสงค์ และเพื่อสะดวกในการขนย้าย จึงได้จ้างชาวณวนคนหนึ่งชื่ออาง ทำการทะล่วงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรการทะลวงหุ่นดินนั้นก็เพื่อต้องการให้น้ำหนักเบา แล้วนำขึ้นเกวียนมาลงเรือชะล่า มีปรำลากจูงด้วยเรือพาย และเมื่อมาถึงเมืองพิษณุโลกก็เทียบท่าอยู่หน้าวัดพระศรีมหาธาตุหลังจากนั้นเจ้าเมืองพิจิตร พระยาเทพาธิบดี ก็ได้ไปกราบเรียนสมุหเทศาภิบาลว่า ได้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว และกราบเรียนต่อไปว่า การนำหลวงพ่อเพชรมาครั้งนี้ชาวเมืองพิจิตรทุกคนมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอันมาก เพราะเสียดายในองค์หลวงพ่อเพชรในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่เดิม เมื่อได้ทราบดังนั้น สมุหเทศาภิบาลจึงได้โปรดทราบตรวจดูพระพุทธรูปก็เห็นว่างดงานจริง ๆ ดังคำบอกเล่าของเจ้าเมืองพิจิตร แต่มีขนาดองค์ใหญ่โตเกินไป อีกประการหนึ่งก็เห็นว่าเป็นการทำลายจิตใจของชาวเมืองพิจิตร จึงได้สั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำกลับไปไว้ที่เมืองพิจิตรตามเดิม
   การนำเอาหลวงพ่อเพชรกลับมายังเมืองพิจิตรคราวนี้นั้น ไม่ได้นำไปไว้ที่อุโบสถที่วัดนครชุมเหมือนเดิม แต่นำมาไว้ที่วัดท่าหลวง โดยทำปรำคลุมไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อประชาชนรู้ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรกลับมาที่เมืองพิจิตรต่างก็พากันมาปิดทองนมัสการอยู่ที่วัดท่าหลวง จึงได้ปรึกษาหารือกันจะแห่แหนหลวงพ่อเพชรกับไปวัดนครชุมอย่างเดิม ส่วนราษฎรทางเมืองใหม่เห็นว่า เมืองพิจิตรได้ย้ายมาตั้งใหม่แล้ว หลวงพ่อเพชรก็ควรจะอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองใหม่ด้วย จึงไม่ยินยอมให้ชาวเมืองเก่านำกลับไปวัดนครชุมเหตุการณ์ตอนนี้มีผู้เล่าขานว่า ขนาดเกิดการยื้อแย่งกัน และถึงขั้นการเตรียมอาวุธเข้าประหัตประหารกัน เดือดร้อนถึงพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ต้องออกห้ามทัพ ด้วยเดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ประกอบกับชาวเมืองพิจิตรเคารพนับถือท่านมาก ศึกครั้งนั้นจึงยุติลง และได้ชี้แจงว่า จะหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองเท่ากับขนาดองค์จริง เพื่อนำกลับไปให้ชาวเมืองเก่าแทนองค์หลวงพ่อเพชรองค์จริง ส่วนหลวงพ่อเพชรองค์จริงนั้นขอให้ประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวงซึ่งท่านเป็นเจ้าโอวาสอยู่ และถ้าชาวเมืองเก่าจะมานมัสการก็ไม่ไกลเกินไปนัก ชาวเมืองพิจิตรก็เชื่อฟังแต่โดยดีไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวงตราบเท่าทุกวันนี้
   อีกเหตุการณ์หนึ่งที่องค์หลวงพ่อเพชรได้ประดิษฐานที่วัดท่าหลวงนั้น มีคนเล่าสืบต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล่า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ พรองค์จึงมีพระกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงามสมควรที่จะนำไปแทนพระพุทธชินราช จึงมีคำสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำองค์หลวงพ่อเพชรไปยังเมืองพิษณุโลก ข่าวการที่ราชการจะนำองค์หลวงพ่อเพชรไปล่วงรู้ไปถึงประชาชน ต่างพากันเสียดายและหวงแหนองค์หลวงพ่อเพชรเป็นอันมาก จึงได้คบคิดกับนายอาง ซึ่งเป็นชาวญวนจัดการทะลวงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรออก เพื่อให้น้ำหนักเบาสะดวกในการขนย้าย เมื่อจัดการทะลวงหุ่นดินออกแล้วก็ช่วยกันย้ายองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อนไว้ในป่า และเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ มิได้หยุดหย่อนข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรเคลื่อนย้าย หาได้พ้นการติดตามและค้นหาของเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง ผลที่สุดก็ใช้อำนาจบังคับให้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาจากเมืองเก่า และได้นำมาพักไว้ชั่วคราวที่วัดท่าหลวง เพื่อรอการนำไปยังเมืองพิษณุโลกชาวเมืองพิษณุโลกก็เช่นเดียวกันกับชาวเมืองพิจิตร เมื่อทางราชการจะนำองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชไปจากพวกเขา ต่างก็พากันหวงแหนโศกเศร้าเสียใจ ร้องให้กันทั่งเมือง เป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ทานเจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล จึงไดนำความเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงทราบก็เห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ระงับการนำพระพุทธชินราชไปกรุงเทพฯ โดยจะหล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน เมื่อหลวงพ่อพุทธชินราชไม่ได้เคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯ องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จนกระทั่งปัจจุบันนี้



วัดป่าเรไร

ที่ตั้ง
ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เจ้าอาวาส   พระอธิการแสวง วิมโล อายุ 41 ปี 20 พรรษา ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่  18 ธันวาคม พ.ศ.2521 จนถึงปัจจุบัน
สถานะ วัดราษฎร์
สร้างเมื่อ  สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2300นามวัด  นามเดิมวัดป่าวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2515ให้มีนามใหม่ว่าวัดป่าเรไรที่ตั้งวัด  มีเนื้อที่ทั้งหมด  45 ไร่ พื้นที่รูปสามเหลี่ยมผืนผ้า(ตั้งอยู่บริถนนท่าน้ำนนท์-บางกรวยไทรน้อย)
ปูชนียสถาน  อุโบสถกว้าง  90 เมตร ยาว 24ตารางเมตรสร้างเมื่อ พ.ศ.2523 ลักษณะทรงไทย หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 17.5 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2522ปูชนียวัตถุ  มีพระประธานในอุโบสถปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 50 นิ้วพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร
พระพุทธรูปต่างๆจำนวน 8 องค์คือ พระประธานศาลาปางมารวิชัย 50 นิ้ว  ที่หอสวดมนต์มีพระพุทธรูป  ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง  20 นิ้ว 1 องค์ ปางมารวิชัยและปางสมาธิ  หน้าตักกว้าง 25 นิ้ว 2 องค์ พระยืน    ปางห้ามญาติสูง 1.20 เมตร 1องค์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว       



วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร   เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก   ชนิดราชวรวิหาร  ฝ่ายธรรมยุต  ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศ  และถนนพระสุเมรุ  ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุเทพมหานคร    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างใหม่ในรัชกาลนั้น ที่ทำการปลงศพเจ้าจอมมารดา (น้อย) ซึ่งเป็นเจ้าจอมของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา  ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ และพ.ศ. ๒๓๗๕ (ปีระหว่างอุปราชาภิเษกและสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น) ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ ซึ่งต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าร่วงโรยมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับวัดบวรนิเวศวิหารเสีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า "คณะรังษี"
วัดนี้ เดิมเรียก "วัดใหม่" น่าจะได้รับพระราชทานชื่อวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (คือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) เสด็จมาอยู่ครองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น เสด็จสรรคตเมื่อต้น พ.ศ. ๒๓๗๕ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร (ไม่ได้ทรงตั้งจนตลอดรัชกาล)
เมื่อทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ เสด็จมาครองวัดใหม่ ก็ได้โปรดให้เสด็จเข้าไปทรงเลือกของในพระบวรราชวังก่อน มีพระประสงค์สิ่งใด พระราชทานให้นำมาได้ ข้อนี้มีหลักฐานสมจริง พระไตรปิฎกฉบับวังหน้าที่วัดนี้ มีกรอบและผ้าห่อสายรัดอันวิจิตร กรอบเป็นทองคำลงยาก็ เป็นถมตะทองก็มี เป็นงาสลักก็มี ประดับมุกก็มี  เป็นของประณีตเกินกว่าทำถวายวัด เข้าใจว่าเป็นหนังสือที่ทรงสร้างไว้สำหรับพระราชวังบวร แม้เหล่านี้บางทีจะทรงเลือกเอามาในครั้งนั้นก็ได้ การที่โปรดให้เข้าไปทรงเลือกของในพระราชวังบวรและพระราชทานชื่อวัดที่เสด็จประทับอยู่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร" ย่อมเป็นเหมือนประกาศให้รู้ว่า ทรงเทียบสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ไว้ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งมหาอุปราช  เพื่อป้องกันความสำคัญในการสืบราชสมบัติ  เพราะคำว่า "บวรนิเวศ" เทียบกันได้กับ "บวรสถาน" ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเทียบได้กับ "วังบน" อันเป็นคำเรียกพระราชวังบวรอีกชื่อหนึ่ง มีคำเล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ทรงเลือกเอาหนังสือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงทราบว่ายังไม่ทรงลาผนวช  และได้เชิญเสด็จสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ มาครองวัดนี้ในพุทธศักราช ๒๓๗๙ โดยจัดขบวนแห่เหมือนอย่างพระมหาอุปราช
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่  ทรงได้ปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ  ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย  โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก  ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัดก็ได้นำเอาการประพฤติ ปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดนี้ด้วย ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า บวรนิเวศาทิคณะ”  อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า คณะธรรมยุติกนิกาย  ซึ่งแปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย  จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นสำนักเอกเทศแห่ง  คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก
         ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า คณะรังษี  และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคารมาบรรจุไว้   ณ ใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘    
         วัดบวรนิเวศวิหาร มีเจ้าอาวาสปกครอง นับแต่พุทธศักราช ๒๓๗๙ มาโดยลำดับตามนี้
๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์  ทรงครองวัดระหว่างพุทธศักราช ๒๓๗๙ ๒๓๙๔ (อ่านต่อ)
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  (พระองค์เจ้าฤกษ์พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑)   สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๓๙๔ ๒๔๓๕ (อ่านต่อ)
๓. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส   (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระราชโอรส ลำดับที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่  ๑๐  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๓๕ ๒๔๖๔ (อ่านต่อ)
๔. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (หม่อมราชวงศ์ชื่น  สุจิตฺโต  นพวงศ์สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๖๔  ๒๕๐๑ (อ่านต่อ)
๕. พระพรหมมุนี (ผิน  สุวโจ  ธรรมประทีป)  ปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๐๑ ๒๕๐๔  (อ่านต่อ)

๖. สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ  สุวฑฺฒโน คชวัตรสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่  ๑๙  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ทรงปกครองวัดตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน   (อ่านต่อ)   
วัดบวรนิเวศวิหาร  นับเป็นพระอารามที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง  กล่าวคือ
ในทางคณะสงฆ์  วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นจุดกำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย  เพราะเป็นที่เสด็จสถิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะยังทรงผนวชอยู่และทรงดำริริเริ่มปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตขึ้นในเวลาต่อมา                วัดบวรนิเวศวิหารจึงนับว่าเป็นวัดแรกและวัดต้นแบบของคณะธรรมยุต  ธรรมเนียมประเพณีและแบบแผนต่าง ๆ  ของคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้น    วัดนี้
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่เสด็จสถิตของสมเด็จพระสังฆราช  องค์ประมุขของคณะสงฆ์ไทยถึง   พระองค์คือ  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช
วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาของคณะสงฆ์คือ  เป็นที่กำเนิด  มหามกุฏราชวิทยาลัย  สถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร  ซึ่งได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทยในปัจจุบัน  เป็นที่กำเนิดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  ที่เรียกกันสั้น ๆ  ว่า  นักธรรม”  อันเป็นการศึกษาขึ้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ไทย
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของไทย  ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักคือพระพุทธชินสีห์  และพระศรีศาสดา  ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย  สมัยกรุงสุโขทัย                  สมัยเดียวกับพระพุทธชินราช  และทั้ง    องค์เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกัน    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ                  จังหวัดพิษณุโลก  นอกจากนี้  ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย  และพระไสยา  (คือพระนอน)  ที่งดงามสมัยสุโขทัยด้วย
ในทางบ้านเมือง  วัดบวรนิเวศวิหารได้เคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการศึกษาหัวเมือง  เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดให้มีการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่ว    พระราชอาณาจัก  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๔๑  โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  ให้ทรงอำนวยการในการจัดการศึกษาในหัวเมือง  อันเป็นการวางรากฐานการประถมศึกษาของไทย


วัดพระบาทน้ำพุ
  
วัดพระบาทน้ำพุ หรือวัดพระพุทธบาทประทานพร เป็นวัดไทยตั้งอยู่เชิงเขาน้ำพุ หมู่ที่ 3 ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีพระอาทรประชานาถ (พระอลงกต ติกฺขปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้รู้จักกันดีว่ามีรอยพระพุทธบาท เป็นสถานรักษาพักฟื้นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ และเป็นที่ตั้งของมูลนิธิธรรมรักษ์
  
วัดพระบาทน้ำพุมีสิ่งสำคัญในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทถูกครอบอยู่ภายใต้มณฑปโดยอยู่ห่างจากอาคารสำนักงานมูลนิธิธรรมรักษ์ประมาณ 150 เมตร โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ที่ฟักฟื้นและรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก [1] ในอุโบสถมีพระประธานขนาดพระเพลากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร พร้อมด้วยพระอัครสาวก นอกจากนี้ในถ้ำบนเขาที่อยู่ในวัดภายในมีหลวงพ่อดำ ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา และพระโพธิสัตว์ 9 องค์ส่วนบนยอดภูเขาพระอุทัย อโนโม สร้างหลวงพ่อขาวขึ้นเมื่อพ.ศ. 2523   บทบาทในฐานะสถานพยาบาลผู้ป่วยโรคเอดส์
วัดแห่งนี้เริ่มต้นรับรักษาและฟักฟื้นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2535 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ริเริ่มโครงการคือเจ้าอาวาส พระอาทรประชานาถ การดำเนินการเกี่ยวกับโรคเอดส์มีสองส่วน ส่วนแรกคือรับดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ทั่วไปจากทั่วประเทศ ส่วนที่สองคือการรับอุปการะเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบโรคเอดส์จากบิดามารดา ทั้งสองส่วนอยู่ในการดูแลของวัดประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นเด็กประมาณ 1,300 คน[1] ในแต่ละเดือนวัดจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหาร ยารักษาโรค ค่าบริหารจัดการภายในวัด และค่าเผาศพ ปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเดือนละ 100,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
ข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




วัดยานนาวา
วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย"
ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระ เจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภา ซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือ เป็น "วัดยานนาวา"
วัดยานนาวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง เขตยานนาวา เป็นวัดโราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดคอกควาย ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า วัดคอกกระบือ ต่อมารัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย วัดคอกกระบือ จึงกลายเป็นวัดยานนาวา
สำเภา ยานนาวา มีความยาววัดจาดหงอนข้างบนถึงท้ายบาหลี ๒๑ วา ๒ ศอก ความยาวส่วนล่างวัดที่พื้นดิน ๑๘ วา ๑ ศอกเศษ ส่วนกว้างตอนกลางลำ ๔ วา ๓ ศอก ส่วนสูงตอนกลางลำ ๒ วา ๓ ศอก มีพระเจดีย์องค์ใหญ่และเล็กอยู่ในลำสำเภารวม ๒ องค์ ที่ห้องบาหลีมีรูปหล่อของพระเวสสันดรกับพระกัญหาชาลีประดิษฐานอยู่ ซึ่งสืบเนื่องมาจากเนื้อความในมหาชาติคำหลวง ที่พระเวสสันดรโน้มน้าวใจโอรสธิดา ให้อุทิศตนเพื่อร่วมกับพระบิดาสร้างมหากุศล อันจักเป็นเสมือนเรือสำเภาใหญ่พามนุษยชาติข้ามโอฆสงสารไปสู่พระนิพพาน
ในพระอุโบสถซึ่งสร้างในสมันรัชกาลที่ ๑ ด้านหลังบานประตูมีภาพจิตรกรรมสำคัญที่รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้วาดขึ้น คือรูปกระทงใหญ่ตามแบบที่ทำในพระราชพิธีลอยพระประทีป และโถยาคูตามแบบอย่างที่ทำเลี้ยงพระในพระราชพิธีสารทในรัชสมัยของพระองค์



วัดบูรพาราม
วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี แต่เดิมที่ตั้งของวัดบูรพานั้น เป็นหมู่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 6 ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2525 ทางเทศบาลได้ขยายเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี วัดบูรพาจึงอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี 
          ตามประวัติวัดบูรพา ไม่มีท่านผู้ใดเขียนไว้ชัดเจน จึงได้อาศัยแต่คำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น ซึ่งท่านก็เล่าว่า แต่เดิมนั้นที่ดินตรงนี้เป็นป่าไม้โสงเสง (ภาษาอีสาน) ซึ่งหมายถึงป่าโปร่ง เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด ผู้คนไม่ค่อยเข้าไป จึงเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ทาสี หลวงปู่เสาร์ ได้ไปปฏิบัติธรรม ขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์
          ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทราบข่าว จึงได้เดินทางมาจาก วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และปฎิบัติธรรมอยู่ที่วัดบูรพา และเมื่อเจ้ากรมหลวงสรรรพสิทธิประสงค์ ได้บริจาคทรัพย์และที่ดิน ให้สร้างวัดบูรพา จึงเป็นต้นกำเนิดสายวิปัฏนากรรมฐาน พระเกจิอาจารย์ต่างๆ ทั่วประเทศได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดบูรพา
          ศาลาการเปรียญ หลังเดิมนั้น สร้างขึ้นใน พ.ศ.2458 ซึ่งแต่เดิมนั้น บริเวณที่สร้างศาลาการเปรียญนี้ ได้เคยเป็นสถานที่สร้างเมรุ เผาศพหลวงปู่เสาร์ ซึ่งเมื่อเผาศพเสร็จแล้ว จึงได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นแทน แต่ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ หลวงพ่อพระครูอมรสิทธิ์ จึงได้สร้างวิหารหลังใหญ่ขึ้น (ปัจจุบันยังก่อสร้างไม่เสร็จ ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำรูปเหมือนของหลวงปู่ ทั้ง 5 คือ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน,พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล,พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต,พระญานวิศิษย์สิงห์ ขันตญาคโม และพระสิทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์(สี ธัมมธโร) 
หอไตรวัดบูรพา เป็นหอพัก คือสร้างอยู่บนพื้นดินอาคารเรือนไม้ สองหลังเคียงกัน แต่ละหลังเป็นเรือนแบบ 3 ห้อง เสากลมยกพื้นสูงมีชานเชื่อมอาคารทั้งสอง(ปัจจุบันชานได้หักพักลงมาหมดแล้ว) อาคารหลังทางทิศใต้ฝีมือปราณีตมาก ฝาแบบก้างปลา ไม้พรึงแกะสลักลวดลายกระจังกลีบบัวรอบอาคาร และไม้ลายเท้าสิงห์รองรับกรอบหน้าต่าง หลังคาทรงจั่วมุงแป้นไม้ หน้าบันกรุไม้รูปพระอาทิตย์ เชิงชายมีไม้ฉลุลายโดยรอบ ไม่ปรากฎว่าปั้นลมมีลักษณะอย่างใด เนื่องจากอาคารหอไตรทั้ง 2 หลังชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ยังมองเห็นลักษณะโครงสร้างได้อย่างชัดเจน อาคารหลังทางทิศเหนือ ฝีมือการก่อสร้างหยาบกว่าทิศใต้ โดยเฉพาะลายผนังและการตกแต่งกรอบหน้าต่าง




วัดน้อยสุวรรณาราม

วัดน้อยสุวรรณาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓๗ บ้านคลองเก้า หมู่ที่ ๘ ตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
วัดน้อยสุวรรณาราม ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยมี นางน้อย สายพานทอง เป็นผู้ถวายที่ดินและดำเนินการสร้างวัด  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ขนานนามเพื่อเป็นเกียรติอนุสรณ์แก่ผู้สร้าง จึงได้มีนามอย่างนั้น วัดน้อยสุวรรณาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔  นอกจากนี้ยังได้ให้ทางราชการสร้างโรงเรียนประชาบาลสอนระดับประถมศึกษา สถานีอนามัยขึ้นในที่วัดอีกด้วย


วัดกระดังงา
วัดกระดังงา เป็นที่อยู่คู่เมืองขนอมมานาน เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ มีภาพเขียนพุทธประวัติฝีมือวิจิตรบรรจงตกแต่งในอุโบสถอย่างสวยงาม และมีโบราณวัตถุที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะเครื่องถ้วยชาม เป็นต้น วัดนี้ห่างจากถนนสายขนอม-ในเพลา ประมาณ 200 เมตร





วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง
ตามตำนานเล่าว่า หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ มีรูปทรงสวยงามมาก ได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน
แต่เดิม หลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม พระจริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์ อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 [1]การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ [1]ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาล โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ



วัดใหญ่ชัยมงคล

ใน พ.ศ. ๒๗๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าราชาธิราชปกครองมคธราษฎร์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งและทรงทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนายิ่งกว่านักบวชในศาสนาอื่นๆ ทำให้นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าเดียรถีย์ปลอมตนเข้าบวชเป็นพระภิกษุด้วยหวังลาภสักการะเป็นอันมาก จนเกิดแตกสามัคคีเพราะรังเกียจกันในหมู่สงฆ์ จึงมีการไต่สวนและกำจัดพวกเดียรถีร์ออกเสียจากภิกษุภาวะ พระสงฆ์ที่ทรงธรรมวินัยโดยถ่องแท้ได้พร้อมกันทำตติยสังคายนา ที่เมืองปาตลีบุตร มี พระโมคคลีบุตรติสเถระ เป็นประธาน ในพระราชูปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

หลังจากทำตติยสังคายนาแล้วได้จัดส่งพระเถรานุเถระไปสั่งสอนพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ ๙ สายด้วยกัน คือ

     ๑. พระมัชฌันติก ไปประเทศกัสมิระ และคันธาระ(แคว้นแคชเมียร์ และอาฟฆานิสถาน)
     ๒. พระมหาเทว ไปมหิสมณฑล (ไมสอ)
     ๓. พระรักขิต ไปวนวาสีประเทศ (เหนือบอมเบข้างใต้)
     ๔. พระธรรมรักขิต ไปอปรันตกประเทศ (ชายทะเลเหนือบอมเบ)
     ๕. พระมหาธรรมรักขิต ไปมหารัฐประเทศ (ห่างบอมเบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
     ๖. พระมหารักขิต ไปโยนกโลกประเทศ (อยู่ในเปอร์เชีย)
     ๗. พระมัชฌิม ไปหิมวันตประเทศ (ในหมู่เขาหิมาลัย)
     ๘. พระโสณะ และ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิประเทศ (ไทย)
     ๙. พระมหินทเถระ ไปลังกาทวีป

ในลังกาทวีปการพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้โดยความอุปการะช่วยเหลือของ พระเจ้าอโศกมหาราช
อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาล่วงไปลังกาทวีปได้ถูกพวกทมิฬ ซึ่งเป็นชนชาติหนึ่งอยู่ตอนใต้ปลายแหลมชมพูทวีปมาแต่เดิมรุกราน และมีอำนาจเหนือลังกาทวีปหลายครั้งประการหนึ่ง การแย่งราชสมบัติรบราฆ่าฟันกันเองประการหนึ่ง ทำให้การพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปปั่นป่วน และแตกแยกเป็นหลายลัทธิ และบางทีก็เสื่อมลงถึงที่สุด จนไม่มีพระเถระสำหรับบวชกุลบุตร และสืบพระศาสนา ต้องส่งทูตไปขอพระเถระจากต่างประเทศ เข้าไปบวชกุลบุตรเป็นหลายครั้ง รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ในระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๒๙พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอย่างมาก เพราะเกิดพวกอลัชชี ถึงกับต้องชุมนุมสงฆ์ชำระและกำจัดภิกษุอลัชชีหลายคราว

เหตุที่เกิดอลัชชีมี ๒ ประการ คือ
     ๑. ลังกาทวีปถือพระพุทธศาสนาก็จริง แต่ได้รับขนบธรรมเนียมอย่างอื่นมาจากชมพูทวีปด้วย โดยเฉพาะการถือชั้นวรรณะตามคติของพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬมีอำนาจมากก็กีดกันคนชั้นต่ำเข้าบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ครั้นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬเสื่อมทราม คนชั้นต่ำก็เข้าบวชมาก ผู้ดีบวชน้อยลง
     ๒. ระหว่าง พ.ศ. ๔๓๙-พ.ศ. ๔๕๕ พระเจ้าวัฏคามินีอภัย เสียราชธานีแก่พวกทมิฬ เที่ยวหลบหนีอยู่ในมลัยประเทศ ไม่มีพระราชทรัพย์ทำนุบำรุงพระสงฆ์ จึงทรงอุทิศที่ดินพระราชทานแทนเรียกว่าที่กัลปนา” (นับเป็นครั้งแรก) ให้ราษฎรซึ่งอาศัยได้ผลประโยชน์จากที่ดินนั้น ทำการอุปการะตอบแทนแก่พระสงฆ์ จึงเป็นราชประเพณีสืบต่อมา



วัดเทพธิดาราม วรวิหาร

วัดเทพธิดารามวรวิหาร ( วัดเทพธิดาราม ) ตั้งอยู่ริมถนนมหาไชยใกล้วัดราชนัดดา หันหน้าออกสู่คลองรอบกรุง หรือ กำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกในสมัยก่อน
   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพธิดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ และสร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย
   วัดเทพธิดารามมีสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน ในวัดมีตุ๊กตาจีนจำหลักทั้งรูปสัตว์และรูปคน ที่น่าสนใจ คือ บางตัวสลักเป็นรูปหญิงไทยไว้ผมปีกแบบโบราณนั่งอุ้มลูก
   สุนทรภู่เคยมาจำพรรษาที่นี่ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๘๕ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า "กุฏิสุนทรภู่" มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงกวีเอกผู้นี้ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน เป็นประจำทุกปี


วัดธรรมิการาม
วัดธรรมิการามหรือวัดค้างคาว ตั้งอยู่ริมลำน้ำบางขามฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดธรรมิการาม" วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งคลองในหมู่ไม้ร่มรื่น สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ มีภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้ง 4 ด้าน ลักษณะของภาพเขียนมีลักษณะแบบตะวันตกเข้ามาปนบ้างแล้ว เช่น การแรเงาต้นไม้ และอื่นๆ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝีมือช่างพื้นบ้านที่งดงามมาก




วัดแก้วโกรวาราม
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของจังหวัดกระบี่ รวมไปถึงประวัติของวัดแก้วโกรวาราม ซึ่งภายในจะมีจัดแสดงวัตถุมงคลต่างๆ อาทิเช่น รูปหล่อทองสำริดพระธรรมวโรดม รูปหล่อทองสำริดพระครูธรรมมาวุธวิศิษฐ์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากภายในวัดจะมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆก็คือ พระอุโบสถหลังเก่า มีลักษณะเปิดโล่งชั้นเดียวสร้างด้วยไม้แบบโบราณ โรงเรียนปริยัติธรรม ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนธรรมะที่สำคัญแห่งหนึ่งภายในจังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญและฌาปนสถาน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอายุเก่าแก่ด้วยกันทั้งสิ้น

ประวัติความเป็นมา
       
ประมาณปี  พ.ศ.๒๔๓๐ มีชาวพุทธประมาณ ๑๐ ครัวเรือน เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านปากน้ำ (อำเภอเมืองกระบี่บริเวณถนนคงคาปัจจุบัน) เมื่อถึงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา  ชาวบ้านจะนิมนต์พระจากวัดบ่อพอ , วัดท่านุ่น ไปประกอบพิธีทางศาสนา
         
ต่อมาประชาชนได้สร้างสำนักสงฆ์ ขึ้นที่บ้านปากน้ำ เพื่อให้พระสงฆ์ที่มาได้พักแรมเมื่อพระมาพักแรมมากขึ้นก็สร้างกุฏิเพิ่มขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วัดปากน้ำ" ต่อมาหมู่บ้านปากน้ำได้เลื่อนเป็นตำบลและทางราชการได้ย้ายเมืองกระบี่จากตำบลกระบี่ใหญ่ (ตลาดเก่า) มาตั้งที่ตำบลปากน้ำ
         
ประมาณปี  พ.ศ.๒๔๔๐ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ต่างรวมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปากน้ำให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบ สมเป็นอาศรมประจำจังหวัดเพื่อใช้เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบาน  ของเหล่าข้าราชการด้วย แต่เนื่องจากเมืองกระบี่นั้นยังทุรกันดารมีโรคไข้ป่าระบาดมากจึงไม่ค่อยมีพระภิกษุไปจำวัด
         
ต่อมาปี  พ.ศ.๒๕๔๐  พระแก้วโกรพ  (หมี    ถลาง) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จึงชักชวนข้าราชการ พ่อค้า  ประชาชน  ร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปากน้ำอย่างจริงจัง  และติดต่อไปยังเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตกับคณะจังหวัดภูเก็ตขอพระสมุห์กิ่ม พุทธรักขิโต วัดอนุภาษกฤษฎาราม (เก็ตโฮ่) จังหวัดภูเก็ตไปเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะมณฑลภูเก็ตได้ขนานนามวัดขึ้นใหม่ว่า "วัดแก้วโกรวาราม" ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นต้นมา
         
ปี  พ.ศ.๒๔๖๗ ได้มีการสร้างอุโบสถผูกพัทธสีมา ซึ่งอุโบสถที่สร้างสมัยพระแก้วโกรพเป็นผู้ว่าราชการ ยังคงใช้ทำสังฆกรรมอยู่จนถึงปัจจุบัน
         
ต่อมายังได้สร้างศาลาโรงธรรม  กุฏิเจ้าอาวาส โรงครัวและพระสมุห์กิ่ม ยังได้ขออนุญาตพระแก้วโกรพ ขยายพื้นที่วัดออกไปสามด้าน โดยการแผ้วถางที่ปลูกต้นจาก ปลูกต้นมะพร้าว หรือให้ประชาชนปลูกข้าวและพืชไร่ เพื่อปรับสภาพพื้นที่ ที่เป็นหนองน้ำท่วมขัง น้ำทะเลท่วมถึง ทำให้เป็นแหล่งจระเข้ และสัตว์เลื่อยคลานนานาชนิด รวมทั้งยุงซึ่งเป็นพาหนะของไข้มาเลเรีย  คร่าชีวิตผู้คนรวมทั้งภิกษุไปทุกปี  ที่ดินวัดแก้วโกรวารามจึงกว้างขวางจรดทะเลปากแม่น้ำ ทางทิศเหนือจดคลองท่าแดง  ต่อมาสมัยพระราชสุตกวี ได้สละสิทธิ์ที่ดิน ประมาณ ๒๐๐ ไร่ ให้กับป่าชายเลน เพื่อใช้เป็นที่สาธารณะและที่ดินวัดบางส่วนได้โดนบุกรุก บางส่วนได้ถูกเช่าจากนายทุนเพื่อทำตลาดย่านการค้า
         
ปัจจุบันวัดแก้วโกรวารามได้รับแต่งตั้งเป็น อารามหลวง


วัดถ้ำเสือ
ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงชุม อยู่ห่างจากเขื่อนแม่กลอง ประมาณ 5 กิโลเมตร ทางเข้าวัดต้องผ่านตัวเขื่อนแม่กลอง แล้วจะมีป้ายบอกเลี้ยวขวาไปประมาณ 2 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 200 เมตร วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดใหญ่อยู่บนยอดเขามีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก และยังมีอุโบสถอัฏมุขเป็นลักษณะทรงไทยมีลวดลายสวยงามวิจิตรตระการตา ข้างๆ มีเจดีย์เกศแก้วมหาปราสาท ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินหรือใช้ลิฟท์ขึ้นไปชมวิวทะเลสาบและเขื่อนแม่กลอง
หากพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดวาอารามในจังหวัดกาญจนบุรี ในสายตาของใครหลายคนอาจจะดูสู้แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตก ป่าเขา เขื่อน และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ แต่กระนั้นเมืองกาญจน์ ก็นับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีวัดวาอารามน่ายลอยู่มากมาย ดังเช่น 2 วัด ต่อไปนี้

วัดแรก คือ วัดถ้ำเขาน้อยต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง ซึ่งเป็นวัดที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบจีนที่สวยงามและโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนยอดเขา
วัดถ้ำเขาน้อยแห่งนี้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2426 โดยมีหลวงปู่แห้ง(กั๊กเง้ง) เป็นพระจีนมาพำนักเป็นรูปแรก ต่อมามีพระจีนอีก 2 รูปมาปกครองดูแล ต่อจากนั้นก็มีพระญวน คือพระอาจารย์เตี๊ยบถ่อมาพำนักปกครองดูแลเมื่อปี พ.ศ.2457 นับแต่นั้นมาก็มีพระสงฆ์ญวนอีกหลายรูปมาปกครองดูแลตามลำดับมาจนถึงพระอาจารย์กิจ ตัยเฟือง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในปัจจุบัน กรมศาสนาได้มาสำรวจสภาพวัดและได้ออกหนังสือรับรองสภาพวัดถ้ำเขาน้อยเป็นวัดฝ่ายอนัมนิกายโบราณอายุประมาณ 100 ปีเศษ

เมื่อเขาไปภายในวัดจะเจอกับพระศรีอริยเมตตรัย ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่เบื้องหน้า ด้านข้างติดกับพระประธานมี เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่ผู้คนที่มายังวัดแห่งนี้จะนิยมขอพรในเรื่องของโชคลาภเงินทองกันเป็นจำนวนมาก ด้านข้างของพระประธานทั้งสองด้านมีพระพุทธรูป 18 พระอรหันต์ ถัดจากพระประธาน เดินเลยเข้าไปด้านข้างทั้งสองข้างจะมีบันไดค่อยๆคดเคี้ยวขึ้นไปยังด้านบน ระหว่างทางมีจุดพักเป็นระยะๆ และมีรูปเคารพเทพเจ้าต่างๆ เมื่อขึ้นไปถึงยังด้านบนยอดเขาวัดถ้ำเขาน้อยเป็นที่ตั้งของเก๋งจีน 7 ชั้น เปรียบได้กับสวรรค์ทั้ง 7 ชั้น

ด้านล่างสุดของเก๋งจีนนี้ประดิษฐานพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เมื่อขึ้นบันไดไปยังชั้นถัดไปๆ ในแต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทะรูปปางต่างๆ จนถึงชั้นบนสุดคือชั้นที่ 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระสังฆราชในนิกายจีนของวัดมังกรประธานให้ ติดกับวัดถ้ำเขาน้อย คือ วัดถ้ำเสือ” (Wat Sua Cave) สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย จากคำบอกเล่าต่อๆกันมา วัดถ้ำเสือแห่งนี้เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กๆ อยู่ในถ้ำบนเขาซึ่งถือกำเนินมากว่า 100 ปี แต่เดิมภายในถ้ำมีพระพุทะรูปศิลาแลงซึ่งชำรุดหักพังมากมาย มีผู้บอกกล่าวกันต่อๆมาว่าพระพุทะรูปเหล่านั้นเกิดการชำรุดเนื่องจากถูกทหารพม่าทำลายเมื่อครั้งที่ได้ยกทัพผ่านมา โดยใช้เส้นทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์เป็นเส้นทางเดินทัพ

ในปี พ.ศ.2516 ได้มีการวางแผ่นฤกษ์สร้างหลวงพ่อชินน์ประทานพร หรือ พระพุทธชินราช ประทับปางประทานพร ขนาดใหญ่สีทองอร่ามโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา มีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายยาว 1.50 เมตร ลึก 2.50 เมตร มีน้ำซึมตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.2520 และในปีเดียวกันก็ได้จัดสร้างพระอุโบสถอัฏมุข หรือพระอุโบสถ 8 มุข เป็นลักษณะทรงไทยมีลวดลายสวยงามวิจิตร ภายในพระอุโบสถมีภาพเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ สำหรับพระอุโบสถ 8 มุขนี้ไม่มีที่ใดสร้าง แต่ที่วัดถ้ำเสือสร้างขึ้นด้วยมโนภาพ ด้วยจิตสำนึกที่พระอรหันต์มาประชุมและกราบทูลพระพุทธเจ้าออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้ง 8 ทิศ

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2527 ได้สร้างพระเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท สูง 75 เมตร ภายในโปร่งมี 9 ชั้น มีบันไดเวียนสำหรับขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุด้านบนยอดสุดของพระเจดีย์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในปราสาทจุฬามณีบรมสารีริกธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ชั้นบนสุดของพระเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท เมื่อ พ.ศ.2533 ที่ผ่านมา หากใครมีโอกาสแวะเวียนไปเมืองกาญจน์ก็อย่าลืมที่จะไปสักการะพระบรมธาตุกันได้ที่วัดถ้ำเขาน้อยและวัดถ้ำเสือ ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี


วัดบางขวาง
ตั้งอยู่เลขที่ 238 หมู่ 4 ตำบลสวนใหญ่  อำเภอเมืองนนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี  เดิมเรียกว่า " วัดบางยาง " ตั้งอยู่ปลายคลองบางสีทอง
       
ภายในวัดมีวิหาร  เป็นวิหารเก่าแก่ อายุมากกว่า 100 ปี  และโบสถ์โบสถ์เดิมเป็นรูปทรงสมัยโบราณ  มีพาไลเตี้ยๆ  อยู่ด้านหลังในโบสถ์ มีพระประธานเป็นพระทรงเครื่อง  ซึ่งเรียกกันว่า " ปางทรมานท้าวมหาชมภูแลพระอัครสาวกซ้ายขวา"  ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับพระธาตุซึ่งรวบรวม  พระธาตุที่สำคัญของไทยไว้  นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญ  ซึ่งเป็นศาลาโบราณทรงประยุกต์  สร้างด้วยไม้สักทอง
     
ทางเข้า-ออกของวัดซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์  ผู้มีบุญเท่านั้นที่จะได้เข้าถึงผู้คนส่วนมากจึงยังไม่รู้จัก  ส่วนมากจะรู้จักคุกบางขวางมากกว่า 



วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 ก.ม อยู่ริมแม่น้ำบางประกง และติดกับค่ายศรีโสธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันทหารช่างที่ 2 (ช.พัน2) ตามหนังสือประวัติพระพุทธโสธร รวบรวมโดย พระมหาก่อเขมทสสี ขณะเมื่อยังเป็นเจ้าคุณพระเขมารามมุนีได้กล่าวว่า เดิมวักโสธรนี้ มีชื่อว่า " วัดหงส์" เพราะที่วัดมีเสาใหญ่มีรูปหงส์เป็นเครื่องหมายติดอยุ่บนยอดเสา วัดนี้สร้างในสมัยไม่ปรากฏ แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป้นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือต้นสมัยกรุงธนบุรี ราวปี พ.ศ 2307 มูลเหตุที่วัดนี้ที่ได้ชื่อว่าโสธร มีผู้เฒ่าเล่าสืบกันมาว่าหงส์ซึ่งอยู่บนยอดเสาใหญ่ถูกลมพายุพัดลงมา ครั้นหงส์ตกลงมาแล้วก็เหลือแต่เสาใหญ่จึงมีบุคคลเอาธงขึ้นแขวนแทน เลยเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดเสาธง" ต่อมาเกิดลมพายุกล้าพัดเสาธงหักโค่นลงมาเป้นสองท่อน ประชาชนที่ถือเอาเครื่องหมายเสาธงหักเป็นท่อนนั้น ตั้งชื่อว่า "วัดเสาทอน" ครั้นต่อมาค่อย ๆ เพี้ยนแล้วห้วนเข้าเลยเรียกกันว่า"วัดโสธร" จนกระทั่งปัจจุบันนี้

นามวัดโสธรนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เคยทรงรับสั่งว่าเป็นนามที่ไพเราะและแปลก ทั้งแปลได้ความดีมาก และทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดไว้คงไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่อง

ชื่อวัดโสธร หรือวัดโสทร ปรากฏในเรื่องนำเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทราของนายตรี อำมาตยกุล พิมพ์ลงในวารสารปีที่ 6 เล่ม 7 มีข้อความเกี่ยวกับชื่อวีดโสธรนี้ว่า"เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เสด็จประพาสวัดนี้เมื่อพ.ศ 2451 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฏราชกุมาร ยังทรงเขียนชื่อวัดนี้ว่า "วัดโสทร" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดโสธรเห็นจะเป็นในราวรัชกาลที่ 6 นี้เอง แต่ยังหาหลักฐานวันเดือนปีที่เริ่มใหม่ไม่ได้" อย่างไรก็ตาม ปรากฏในแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม 6 หน้า 105 พ.ศ 2461 ลงเรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ในมณฑลปราจีนบุรี พ.ศ2459 ชื่อวัดโสธรได้เขียนไว้อย่างนี้แล้ว พอจะอนุมานได้ว่าได้เปลี่ยนชื่อวัดโสทรเป็นวัดโสธร ในราวต้นรัชกาลที่6 ฉะนั้นผู้ที่เขียนชื่อวัดโสธร เป็นวัดโสทร ภายหลังปี พ.ศ 2459 แล้ว น่าจะเกิดจากการสะกดผิดมากกว่าที่จะมีเจตนาเขียนเช่นนั้น
เมื่อคราวพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีน ร.ศ127 ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงมกุฏราชกุมาร ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อวัดโสธรว่า "กลับมาแวะวัดโสทรซึ่งกรมดำรงฯ คิดจะแปลว่า ยโสธร จะให้เกี่ยวข้องแก่กาลที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเมืองเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกานาถ หรือเมื่อใดราวนั้น แต่เป็นที่น่าสงสัยเห็นด้วยใหม่นัก..." พระราชปรารถตอนนี้ทำให้เกิดความคิดว่าชื่อวัดโสธรนี้จะเป็นการถูกต้องแล้ว หรือโดยได้ทรงระลึกถึงพระที่นั่ง" ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์" ในรัชกาลแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ได้ยกทัพไปตีเมืองเขมร ได้ชัยชนะ ทรงพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติด้วยถ่ายแบบประสาทกับพระที่นั่งในเมืองยโสธร นครธมมาแล้วในกรุงศรีอยุธยา ทำให้สงสัยว่าจะตกตัว"ย" ไปเสียหรืออย่างไร คงเหลือแต่ " โสธร " เท่านั้น แต่ในที่สุดพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปลงพระทัยจะเชื่อนักเพราะทรงเห็นว่าวัดโสธรนี้ยังใหม่ ดังปรากฏตามพระราชปรารถดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า " โสธร " กับ "ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์" มิใช่เป็นสถานที่แห่งเดียวกัน มีที่มาและความหมายต่างกัน
อนึ่ง อำเภอโสธรที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดโสธรนี้ เมื่อชื่อจะคล้ายคลึงกันก็ตาม คำว่า "ยโสธร" แปลว่าทรงยศ เดิมอำเภอยโสธรเรียกว่า อำเภอยศ เพราะเป็นเมืองชื่อว่ายศสุนทร ตั้งขึ้นในราว พ.ศ 2280 ภายหลังเปลี่ยนเป็นเมืองยโสธรแล้วยุบเป็นอำเภอ เมื่อราว พ.ศ2454
วัดโสธรเป็นวัดราษฏรมาแต่ดั้งเดิม พึ่งได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า " วัดโวสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2501


วัดชัยมงคล
วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ ๓๒๔ ถนนเทศบาล ๑๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
วัดชัยมงคล ถือเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนปลาย ต่อกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณพ.ศ. ๑๘๙๓ จากหลักฐานที่กรมศิลปากรสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุของวัดไว้ พระราชทานวิสุงคามสีมาถือว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ ในด้านการศึกษาวัดชัยมงคลสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมมีอาคารเรียน ๑ หลัง


วัดเชิงท่า
วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก พื้นที่ด้านหน้าติดพระราชวัง "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ด้านทิศตะวันตกที่หันหน้าสู่แม่น้ำลพบุรี เดิมชื่อ วัดท่าเกวียน ด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนส่งมาลงที่ท่าน้ำหน้าวัดแห่งนี้ ภายในวัดเชิงท่ามีอาคารสำคัญสร้าง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ ได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ประธานของวัด กุฏิสงฆ์แบบตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสถาน หอระฆังและศาลาการเปรียญ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและสวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี


วัดโพธิ์
พระพุทธไสยาส  พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๓ ทรงสร้าง ขึ้นครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ คือการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ได้โปรดฯ ให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ  แล้วโปรดฯ  ให้สร้างพระพุทธ ไสยาสขึ้นในที่ซึ่งได้ขยายออกไปใหม่นั้น  เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ด้านพระพักตร์สูง ๑๕ เมตร  มีความยาวตลอดทั้งองค์ถึง ๔๖ เมตร  พื้นพระบาทประดับด้วยมุกไฟเป็นภาพมงคล ๑๐๘ พระพุทธไสยาสองค์นี้ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระพุทธไสยาสองค์ใหญ่ ที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย

    ที่ผนังพระวิหารหลังนี้มีภาพเขียนสีและจารึกเรื่อง มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกาทวีป) อยู่ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) ๑๓ องค์ อุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน อุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน



วัดโพธิ์ชัย 
ที่ตั้ง
วัดโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 873 ถนนประจักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อยู่ในเขตการปกครองของคณะสงฆ์ เขต 2 ภาค 8 สังกัดคณะมหานิกาย
สภาพของวัด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2524 มีเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 94 7/10 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1537
ทิศเหนือ ยาว 166 เมตร จดคุ้มโพธิ์ชัย ถนนประจักษ์
ทิศใต้ ยาว 213 เมตร จดถนนชลประทาน
ทิศตะวันออก ยาว 89.50 เมตร จดทุ่งนานายคำ อนิทะชัย
ทิศตะวันตก ยาว 109 เมตร จดตลาดโพธิ์ชัย
มีเนื้อที่เป็นเขตธรณีสังฆ์ 1 แปลง ขนาด 84 1/100 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1107 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2522 เนื้อที่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พุทธศักราช 2523

ประวัติความเป็นมา
วัดโพธิ์ชัย เดิมชื่อ "วัดผีผิว" เนื่องจากบริเวณวัดนี้ใช้เป็นที่เผาผีหรือเผาศพ และมีผีดุ ต่อมาทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ " วัดโพธิ์ชัย " ในสมัยกรุงรัตนฌกสินทร์ แล้วยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2524 และเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใสซึ่งเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน ชั้นหลัง หล่อด้วยทองสุก มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูงจากเบื้องล่างพระสงฆ์ ถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว มีห่วงกลมขนาด หัวแม่มือจำนวน 3 ห่วง ติดกับพระแท่นซึ่งหล่อติดกับองค์พระใส สำหรับผูกเชือกติดกับยานเวลาที่อัญเชิญลงมา แห่รอบเมืองให้ประชาชน ได้สรงน้ำในวันสงกรานต์
หลวงพ่อใสจัดสร้างขึ้นโดย พระราชธิดาพระเจ้าไชยเชษฐาธราช กษัตริย์แห่ง ล้านช้างนคร ทั้ง 3 พระองค์ คือ สุก เสริม ใส ได้ขอพรจากพระราชบิดาโดยให้ช่างหล่อ พระพุทธรูปประจำพระองค์ และตั้งชื่อตามพระนามของพระธิดาทั้ง 3 พระองค์ ตามลำดับ คือ พระสุก พระเสริม และพระใส ประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย แขวงเมือง เวียงจันทน์
พระรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระ บวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ยกกองทัพไปปราบกบฎ เจ้าอนุวงศ์ ณ นครเวียงจันทน์ จนสงบแล้วจึงได้อัญเชิญ พระสุก พระเสริม พระใส มาจากถ้ำที่ภูเขาควาย เนื่องจาก ชาวเมืองได้นำเอาไปซ่อนไว้ขณะที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในเมืองหลวง โดยอัญเชิญ ลงในแพไม้ไผ่ผูกติดกันอย่างมั่งคง ทั้ง 3 ลำ ล่องลอยมาตามน้ำงึม แล้วมาขึ้นฝั่งแม่น้ำโขงที่ เมืองหนองคาย ที่วักหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ จังหวัดหนองคาย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งจอมเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานี และเจ้าเหม็น (ข้าหลวง)อัญเชิญพระใส ขึ้นเกวียนไปไว้ที่กรุงเทพ ฯ แต่เกวียนที่ใช้อัญเชิญพระใสมาถึงวัดโพธิ์ชัยเกวียนก็หักลงไม่สามารถ เดินทางต่อไปได้ จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อพระใสประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัยจนถึงบัดนี้
 เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์ วันที่ 13 - 15 เมษายน ของทุกปีจะมีการทำบุญสมโภช หลวงพ่อใส โดยคณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจะร่วมกันอัญเชิญหลวงพ่อใส ออกมาประดิษฐานบนยานแห่รอบเมืองหนองคายให้ประชาชนสรงน้ำแล้วนำมาประดิษฐานไว้ ณ ปะรำพิธีในวัดโพธิ์ชัย ในตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ และมีมหรสพเฉลิมฉลองตลอด 3 วัน


วัดจันทาราม
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านเข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2-3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่างๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหาร ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว นอกจากนี้ยังมียังมีศาลาอยู่หลายหลังสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและมีที่พักให้ด้วย อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและปิดช่วงกลางวัน โดยอาคารแต่ละหลังจะทยอยเปิดตั้งแต่เวลา 10.30 น. และจะเปิดให้ชมโดยพร้อมเพรียงกันอีกครั้งตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป
การเดินทางสู่ วัดจันทาราม
วัดท่าซุง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม สามารถเดินทางไปได้หลายวิธี 1) ไปตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กิโลเมตร 2) รถโดยสารสายอุทัยฯ-ท่าซุง (สองแถวสีฟ้า) ค่าโดยสาร 8 บาท จากวัดท่าซุงต่อไปอีก 5 บาท จะถึงท่าเรือข้ามไปอำเภอมโนรมย์


วัดศรีสุดาราม

ประวัติความเป็นมา
วัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว บางทีเรียกวัดปะขาวก็มี สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มาแต่ในรัชกาลนั้น ครั้นล่วงมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาขุนมนตรีเป็นแม่กองสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่โดยเลื่อนขึ้นจากที่เดิม ทรงโปรดให้เจ้าพนักงานปักกำหนดเขตรอบโรงพระอุโบสถลงใหม่ใช้แทนวิสุงคามสีมาเดิม โดยให้มีความยาว 15 วา กว้าง 7 วา แล้วโปรดให้ลงเขื่อนหน้าวัด เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชอัยยิกาเจ้าของพระองค์ ทรงสถาปนาพระราชทานไว้ตั้งแต่วันจันทร์ขึ้น 1ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ นพศกพุทธศักราช 2410 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาล (ปลายรัชกาล) ตามพระราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในพระอุโบสถ (พระอุโบสถหลังเก่าปรากฏเป็นวิหาร อยู่หน้าพระอุโบสถปัจจุบัน)
บริเวณที่ตั้งวัด
วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 13 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส และ สังฆาวาส เฉพาะส่วนที่เป็นธรณีสงฆ์ มีจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา เมื่อก่อนใช้ศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษาวัดศรีสุดาราม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ครั้นต่อมาได้เปลี่ยนสังกัดไปเป็นโรงเรียนเทศบาลของเทศบาลนครธนบุรีในบัดนี้ได้สร้างอาคารโรงเรียนขึ้นใหม่ด้านหลังพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยเงินงบประมาณจำนวน 250,000 บาท ซึ่งยังคงเปิดสอนอยู่ ปัจจุบันนี้เป็นโรงเรียนประถมสังกัดกรุงเทพมหานคร
วัดนี้เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศึกษาของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เมื่อครั้งเยาว์วัย เพราะท่านได้เขียนไว้ในนิราศสุพรรณ (บทที่ 24) ว่า
         วัดปะขาวคราวรุ่นรู้                      เรียนเขียน
      ทำสูตรสอนเสมียน                         สมุดน้อย
      เดินระวางระวังเวียน                        หว่างวัดปะขาวเอย
      เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย                     สวาทห้องกลางสวน
อนึ่ง สุนทรภู่ยังได้เอ่ยถึงวัดนี้อีกในนิราศพระประธม นอกจากนี้กวีโบราณท่านอื่น ๆ เช่น พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิทนายมี และ หลวงจักรปราณี (มหาฤกษ์) ก็ได้เคยกล่าวถึงวัดนี้ในเรื่องนิราศต่าง ๆ อีกหลายเรื่อง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 วัดศรีสุดารามก็ได้รับการทะนุบำรุงอีก ดังปรากฏว่ามีการสร้างสะพานข้ามคลองแบบเก่า ซึ่งมีศาลาไม้หลังเล็ก ๆ คล่อมอยู่กึ่งกลางสะพานที่หน้าจั่วของศาลานั้นจารึกไว้ว่าสร้างเมื่อ ร.ศ. 128 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกเมื่อใดจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันจึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อนสร้างเสนาสนะต่าง ๆ อาทิพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์  เขื่อนหน้าวัด และ ถาวรวัตถุอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
ปูชนียวัตถุ ถาวรวัตถุ และเสนาเสนาะต่าง ๆ
1.      พระประธานในพระอุโบสถ ปางปลงพระชนมายุสังขาร ไม่มีพระโมฬี มีแต่พระรัศมีประทับนั่งวางพระหัตถ์ทั้งสองบนพระเพลา   หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1คืบ   มีพระสาวก 8 8 องค์ นั่งประนมพระหัตถ์เบื้องพระพักตร์พระประธาน   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างพระอุโบสถ
2.      พระศรีอารีย์   หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์   หน้าตักกว้าง 2 ศอก   ลักษณะนั่งมารวิชัยพระหัตถ์ซ้าวยวางบนพระเพลา    พระหัตถ์ขวา ถือพัด เป็นลักษณะพระสาวก ประดิษฐานอยู่ที่หอไตร
3.      พระเจดีย์ 5 องค์ อยู่แถวเดียนวกันด้านหลังพระอุโบสถ
4.      พระปรางค์ 2 องค์ ทรงไทยโบราณ หน้าบันเป็นรูปเทพนม ลานก้านขดมีคันทวยรอบ หน้าต่างเป็นรูปซุ้ม หน้าจั่วเป็นรูปเทพนม ช่อฟ้าใบระกานาคเอี้ยว กระจังติดประดับ
5.      พระวิหาร เดิมเป็นพระอุโบสถหลังเก่า ดัดแปลงเป็นวิหารมีลักษณะเป็น 8 เหลี่ยม ต่อมาสมเด็จพระมาหสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้รื้อแล้วสร้างขี้นใหม่ในลักษณะคล้ายพระอุโบสถ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นพาน 2 ชั้น มีรูป "ปิ่น" ประดิษฐานไว้บนพาน หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และ มีพระพุทธรูปปางทรงเครื่องอยู่รวมกันหลายองค์
6.      หอไตร ก่อด้วยอิฐถือปูน มีระเบียง 4 ด้าน หลังคามุงกระเบื้อง
7.      ศาลาการเปรียญ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ปฏิสังขรณ์ติดต่อกันมาโดยตลอด
8.      กุฏิสงฆ์ ไม่มีกุฏิถาวร ปัจจุบันทางวัดเริ่มพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาตามลำดับด้วยแรงศรัทธาของประชาชน


วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง) พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๒ ถนนกำแพงเพชร - สุโขทัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ ๖๒๐๐๐ โทรศัพท์ (๐๕๕) ๗๑๑-๖๘๐, ๗๑๒-๙๖๔
มีเนื้อที่ ๖๒ ไร่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อุฏฐายีมหาเถระ) เป็นประธานสงฆ์ ในพรรษกาล ๒๕๔๖ มีพระภิกษุ ๒๕ รูป สามเณร ๑๑๐ รูป อารามิกชน ๑๐ คน มี พระราชสารโมลี (เฉลิม วีรธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาส พระครูโสภณวัชรคุณ (สุขกรี รตนโชโต) เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส มี นายจันทร์ รอดพันธ์ และ นายสมบูรณ์ สุขศรี เป็นไวยาวัจกร
วัดนาควัชรโสภณ ได้รับการยกย่องให้เป็นวัดอุทยานการศึกษา และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เนื่องใน มหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกฐานะวัดนาควัชรโสภณ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาประมาณมิได้ ยังความปลื้มปิติแก่บรรพชิตและปวงพสกนิกรพุทธศาสนิกชนชาวกำแพงเพชร เป็นที่ยิ่ง
ประวัติความเป็นมา
วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ
วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน
      ได้จาริกธุดงค์มาปักกลดจำพรรษาอยู่ ณ บริเวณ เจดีย์โบราณสถานวัดช้าง โดยในช่วงดังกล่าวได้ปฏิบัติธรรมและเทศนาอบรมสั่งสอนพุทธศานิกชนแถบถิ่นนี้เป็นอย่างดี จนทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และได้อุปัฏฐากบำรุงท่านเป็นลำดับ ต่อมา จ.ส.อ. ศักดิ์ และนางสังเวียน เดชานนท์ มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินมอบถวายให้สร้างวัด และภายหลังมีผู้ซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมอีก รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๗๖ ไร่ ๑ งานเศษ
      จากนั้นได้เริ่มสร้างเสนาสนะที่พักอาศัย สาธารณูปการที่จำเป็นต่างๆ มีการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่จำพรรษาที่วัดช้างแห่งนี้ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ขออนุญาตสร้างวัด และเริ่มก่อสร้างอุโบสถ โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร และได้สร้างตำหนักทรงธรรม-สังฆราชานุสรณ์ เพื่อเตรียมรับเสด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อุฏฐายีมหาเถระ) ซึ่งได้เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ ใน พ.ศ. ๒๕๑๓
พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายี) ได้ประทานชื่อจากวัดช้าง (เดิม) เป็น วัดนาควัชรโสภณและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ มีพื้นที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๒ ถนนราชดำเนิน ๒ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จึงนับได้ว่าวัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แห่งแรกในจังหวัดกำแพงเพชร
พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เป็นพระสุปฏิปันโนรักษาข้อวัตรปฏิบัติตามแนวพระกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ชาวจังหวัดกำแพงเพชร ให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอันมาก นอกจากการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้ว ท่านยังได้จัดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณรอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาด้านสาธารณูปการต่างๆ ภายในวัด อีกทั้งได้ขยายวัดและสำนักสงฆ์ออกไปสู่ตำบลและอำเภอต่างๆ อีกหลายแห่ง
ด้านการคณะสงฆ์ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ได้รับความเมตตาจากพระเถระผู้ใหญ่ให้การอุปถัมภ์สนับสนุน อาทิ พระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ จินฺตเถโร)
      วัดราชบพิตรสถิต-มหาสีมาราม, พระอริยเมธี (ปฐม อุดมดี) และ พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม ร่วมกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และอุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างวัดและสำนักสงฆ์ขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายแห่ง จนสามารถตั้งเป็นเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร - พิจิตร (ธรรมยุต) โดย พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนาควัชรโสภณ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร (ธรรมยุต) เป็นองค์ปฐม
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ได้มรณภาพลงด้วยโรคกลัวน้ำ รวมสิริอายุ ๕๖ ปี ๓ เดือน นับว่าวงการคณะสงฆ์ได้สูญเสียพระสังฆาธิการที่มีความคิดริเริ่มพัฒนา และวางรากฐานของงานคณะสงฆ์ธรรมยุตในเขตภาคนี้ให้เป็นปึกแผ่นไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง
ต่อมา พระมหาสมจิตต์ อภิจิตฺโต กรรมการเลขานุการ มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นศิษย์ของพระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ที่ไปพำนักจำ พรรษ าอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยความอุปถัมภ์สนับสนุนจากพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญาราโม)๔ วัดบวรนิเวศวิหาร และ นายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้พาคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธามาช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียนพระปริยัติธรรม อาคารที่พักพระภิกษุสามเณร อาคารหอสมุด และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช เพื่อพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่ศึกษา และปฏิบัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรให้เป็นที่สัปปายะยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังได้เปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น เพื่ออบรมเยาวชนให้ได้รับความรู้ด้านศีลธรรม หลักธรรมตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา ตลอดจนจริยธรรมอันดีงาม และได้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วชิรกุญชร มัธยม เพื่อการศึกษาวิชาสามัญศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรอีกด้วย และในช่วงเดียวกันนี้ พระครูโสภณธรรมวัชร์ (เฉลิม วีรธมฺโม)๕ ได้มาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พร้อมกับดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร (ธรรมยุต) สืบต่อจากพระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้มรณภาพลง
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) และเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอาคารสมเด็จพระญาณสังวร หอสมุดสมเด็จพระญาณสังวร และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาได้มีการปรับปรุงบริเวณพื้นที่และก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างภายในวัดนาควัชรโภณ เป็นลำดับ คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี, พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคาร ๘๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช วิหารพระไพรีพินาศ, อาคารที่พักพระภิกษุ-สามเณร เป็นต้น รวมงบประมาณการพัฒนาด้านสาธาณูปการ และการจัดการศึกษาแผนกต่างๆ ของสำนักเรียนวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยการบริจาคร่วมของพุทธศาสนิกชน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๐,๔๗๗,๔๗๖.- บาท (หกสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน)
ปัจจุบัน วัดนาควัชรโสภณ ใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สำหรับเยาวชน แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นสำนักเรียนที่ใช้เป็นสถานที่สอบธรรมชั้นนวกะภูมิและสอบธรรมสนามหลวง สำหรับพระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ในเขตนี้อีกด้วย จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดอุทยานการศึกษา และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดนาควัชรโสภณ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พ.ศ. ๒๕๔๒ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ ได้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เป็น เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-ตาก (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๔๓ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ พระราชสารโมลีเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น